วันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ที่ยึดแบตเตอรี่ในรถยนต์

ผมไปเจอโดยบังเอิญในภาพนี้ เห็นแล้วมันสะดุดตา แต่ก็เป็นไอเดียที่ดีมากครับ สำหรับการใช้อุปกรณ์ที่อาจจะมีสำหรับบางท่านครับ แต่ดูแล้วผมว่ามันสวยงามดี ไม่มีใครเหมือนด้วยครับ ถ้าพ่นสีจะยิ่งงามมาก
ซึ่งในรูปมันคือโซ่ครับ ซึ่งผมได้หาซื้อเหล็กยึดแบตซื้อได้มาอันละ 40 แต่มันบางยึดแล้วมันบิดๆ ดูไม่แข็งแรงเลย เห็นแบบใช้ โซ่ แล้วปิ๊งเลยครับ

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

First of overhorn B11 E13

จากการส่งไปหาช่างใหญ่เป็นเวลาเกือนเดือนแล้ว ตอนนี้คิดถึงจัง
ตอนไปเยี่ยมก็ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ ได้แต่รูปที่ช่างส่งมาให้ดูระหว่างให้การช่วยเหลือ











อาการหนักกว่าที่คิดไว้ถ้าหาอะไหล่ไม่ได้จริงๆ อาจจะต้องลา E13 แต่ตอนนี้คงต้องให้ช่างรักษาต่อไป
ฝาสูบแตก ฝาหน้าเครื่องแตกร้าว
ช่างทำการรักษาตามอาการ ร่วมทั้ง ล้างคาร์บู ผ่าเครื่องหมดเพื่อหาจุดที่ชำรุดพร้อมทำการแก้ไข เปลี่ยนแผ่นคลัช ช่างแจ้งว่าหมดไป 50% ถ้ามีอะไรแจ้งได้ก็จะดี จะได้ไม่ต้องให้ลื้อออกมา เพราะถ้าลื้อแล้ว ก็คงเปลี่ยนแผ่นคลัชอยู่ดี
รอ และรอ และรอ เพราะอยากได้กลับมาในสภาพที่ดีที่สุด โดยผมจะไม่เร่งทางช่างแล้วครับ ตอนนี้ดีที่ช่างให้เอารถของเค้ามาใช้ก่อน คงเห็นความลำบากทางครอบครัวผมมากกๆ  555555 เพราะ B11 คันนี้เป็นรถบ้านจริงๆ ครับ

เพิ่มเติม ณ 4/12/56
เมื่อวานรถที่ช่างให้ใช้เกิดดันเสียเลยต้องลางาน ถึงได้มีโอกาสไปซื้อน็อตถ่ายน้ำมันเกียร์ที่ศูนย์นิสสัน หนองแขม จ่ายเงินไป270 บาทครับ น็อตตัวเดียว ไม่ได้ถ่ายรูปไว้ ด้านในมีแม่เหล็กด้วยนะครับ
หลังจากนั้น ก็หาซื้อน้ำมันเกียร์ไปเติมที่ใส่น้ำมันคลัช เพราะลูกสูบของสายคลัชคงรั่ว ใส่เรียบร้อยพอขับเอารถไปคืนช่างได้ ถึงได้มีรูปรถดังนี้ครับ

ตอนเย็นแวะไปหาอีกทีเจอช่างกำลังพยายามเอาน็อตถ่ายน้ำมันเกียร์อันเก่าที่ติดอยู่ออก โดยการเจาะคว้านมัน ผลรอติดตามอยู่ครับจะสำเร็จยังไงบ้าง

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีปรับจูนแก๊ส

21/09/58

  1. พยายามปรับไอเดิลให้รถสามารเดินเบาได้โดยไม่ดับ แล้วทำการจูนพีคโดยเร่งเครื่องค้างไว้แล้วปรับพาวเวอร์วาวล์ เข้าออก จนได้รอบที่แรงที่สุดก่อน
  2. จากนั้น ก็เข้าไปนั่งในรถปล่อยเครื่องเดินเบา แล้วลองเหยียบเบรคแล้วปล่อยติดๆกัน3-4ครั้ง ถ้ารอบเร่งขึ้นให้ลดไอเดิลลง ถ้ารอบตกลงให้เพิ่มไอเดิล ทำจนกว่ารอบจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็พอ
  3. ลองเปิดแอร์ดูว่ารอบคงที่หรือไม่ถ้าเร่งขึ้นนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าตกลงลองเหยียบเบรคตามข้อ4ถ้ารอบยังตกลงให้เพิ่มเซนต์จนกว่ารอบจะเพิ่มขึ้นมา.
  4. ลองปิดแอร์ถ้ารอบดีดขึ้นแล้วลง หรือคงที่ถือว่าผ่าน ถ้ารอบตกให้ทำข้อ4อีกครั้ง ทำวนข้อ4-ข้อ6จนเครื่องนิ่ง
  5. เร่งเครื่องซัก3-พันรอบ แล้วเหยียบเบรครั่วๆถ้ารอบเร่งขึ้นอีกให้ลดพาวเวอร์วาวลงที่ละนิด จนกว่ารอบจะคงที่หรือตกเล็กน้อยเป็นอันจบจูนพีค
  6. ลองเปิดโหลดทุกอย่างดูว่ารอบเครื่องตกมากไหมถ้านิดหน่อยถือว่าผ่าน
ที่มาhttp://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?id=41640




08/05/58

จากที่หาและเก็บข้อมูลมานั้นก็ยังไม่เข้าใจดีที่คุณพุท ที่แนะนำเพิ่มเติมในการปรับจูนแก๊ส แต่ผมก็เอามาปรับตามในแบบของผมครับเพราะมีบางอย่างไม่เหมือนกัน(คุณพุทไม่ว่ากันนะครับ)
        เริ่มกันที่เราใช้รถปกติก่อนแล้วกันนะครับสมมุติว่าตอนนี้มันปกติ หรือไม่ปกติก็ตาม
ของที่จำเป็น(สำหรับผมคือ วัดรอบ) และอะไรก็ได้ที่ค้ำคันแร่งได้ที่ประมาณ 3,000 รอบ
ส่วนอื่นๆ ก็เป็นพวกไขควงครับ
        ตอนนี้ก็เริ่มปรับกันครับ (ในการปรับจูนปิดระบบไฟทุกอย่างร่วมทั้งแอร์ด้วย)คือ
  1. ติดเครื่องให้ร้อนจนพัดลมหม้อน้ำทำงาน
  2. ค่อยๆ ปิดสกรูเดินเบา (IDLE) หมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนไปหน่อย ก็ต้องมาหมุนสกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE)โดยคลายออก ทวนเข็มนาฬิกา จนปิดสกรูเดินเบา (IDLE)จนสุด
  3. ปรับรอบเดินเบาให้ได้รอบตามที่เราใช้งานปกติ คือ 750 รอบ แต่ผมตั้งที่ 850 รอบครับ
  4. จูนพีค โดยหมุนวาวล์กลางสาย (POWER VALVE)ออก คือหมุนทวนเข็มนาฬิกา ไปๆๆๆๆๆ จนรอบขึ้นสูงและไม่ขยับขึ้นไปอีก และค่อยๆ หมุนกลับลงมาในตำแหน่งตอนที่เข็มมันจะตกลงจากที่มันหยุดนิ่งไว้เมื่อกี๊
  5. หลายๆ บทความก็บอกว่าให้ปรับเพิ่ม ถ้าต้องการแรง แต่ถ้าต้องการประหยัดก็ปรับลดลง ในตำแหน่งจากจุดพีค แต่ผมไม่ครับให้มันอยู่ในตำแหน่งจุดพีคครับ
  6. กลับมาตั้งรอบเดินเบากันอีกครับโดยคลาย สกรูเดินเบา (IDLE) ออกมา ครึ่งรอบ
  7. หมุนสกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE) ให้ได้รอบเดินเบาตามที่เราต้องการ
  8. ทดลองเปิดแอร์ และปรับตัวชดเชยรอบแอร์ให้เท่ากับรอบเดินเบา
  9. ทดสอบการใช้งานจริง ถ้าตอนแอร์เปิด หรือระบบไฟทำงานแล้วรอบตก ให้ปรับที่สกรูเดินเบา (IDLE) ออกที่ละ 1/4 รอบ ซึ่งจะทำให้รอบเดินเบาสูงขึ้น เราก็ต้องปรับลดรอบเดินเบาที่สกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE) โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ให้ได้รอบเดินเบาตามที่ต้องการ
  10. จบ

ที่มาจาก http://bullbuck.co.th

การจูนแก๊สระบบดูด (MIXER)

 

วิธีการจูนแบบที่ 1   
การจูนแก๊สระบบมิ๊กเซอร์ (MIXER) หรือเรียกอีกชื่อว่าการจูนแก๊สระบบดูด
มารู้จักอุปกณ์ ที่จะทำการจูนด้วยวาวล์ หรือลิ้นปิดเปิด 3 ตัว คือ
1.  สกรูเดินเบา (IDLE)
2.  สกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE)
3.  วาวล์กลางสาย หรือ พาวเวอร์วาวล์ (POWER VALVE)
หน้าที่ของอุปกรณ์   
1.  สกรูเดินเบา  ทำหน้าที่จ่ายก๊าซขณะเครื่องยนต์ไม่มี LOAD หรือเดินเบา (คือไม่มี LOAD ในการขับเคลื่อน)  การคาย
สกรูเดินเบาออกมามาก ก๊าซก็จ่ายมากให้รอบสูง การจ่ายก๊าซตรงจุดของสกรูเดินเบามาจากแรงดันในถังก๊าซหมุน
เปิดปิดเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น
2.  ตัวเซนซิทีฟ (SENSITIVE) ทำหน้าที่จ่ายก๊าซตามภาระ LOAD ต่างๆ ของเครื่องยนต์ โดยอาศัยความดันอากาศภายใน
ท่อไอดี  เช่น รถจอดอยู่เปิดแอร์ เครื่องยนต์รับ LOAD ความดันอากาศในท่อไอดีสูงขึ้นจากการเปิดแอร์  Sensitive จะ
จ่ายแก๊สตามแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี  การจ่ายแก๊สของ SENSITIVE จ่ายตามรอบการ LOAD ของเครื่องยนต์ ใน
ขณะที่สกรูเดินเบายังคงทำการจ่ายแก๊สอยู่ตามปกติ คือจ่ายแก๊สปริมาณคงที่   ถ้าหากสปริงที่  SENSITIVE อ่อน จะ
ทำให้การจ่ายก๊าซจะออกมามาก สิ้นเปลืองก๊าซมากเกินความจำเป็น     ดังนั้นการจ่ายก๊าซตรงจุด SENSITVIE เกิดจาก
แรงดูดของเครื่องยนต์ เยียบคันเร่งมากแรงดูดก็มากตาม ก๊าซก็จ่ายมากตามแรงดูด
3.  MIXER คือตัวผสมอากาศเข้ากับเชื้อเพลิง MIXER มีลักษณะเป็นคอขอดที่มีขนาดรูคงที่  หากรถใช้ความเร็วสูง แต่
คอขอดที่ MIXER มีขนาดรูเล็ก  รูเล็กนี้จะขวางทางอากาศขณะที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้มีอากาศน้อยลงทำให้ส่วนผสม
ไม่พอไปใช้งาน
4.  วาวล์จ่ายก๊าซหลัก เรียกวาวล์กลางสาย หรือเรียกพาวเวอร์วาวล์  มีหน้าที่ควบคุมปริมาณของก๊าซที่ไหลเข้าเครื่อง
ผสมก๊าซ (MIXER)  การหมุนเข้า-ออก พาวเวอร์วาวล์สามารถกำหนดแรงดูดที่ไปทำให้หม้อต้มจ่ายแก๊สมาก หรือน้อยได้
การใช้งานพาวเวอร์วาวล์ เมื่อจูนเสร็จเรียบร้อยแล้ว พาวเวอร์วาวล์จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการ
ไหลของก๊าซจากหม้อต้ม จากการเพิ่มรอบหรือลดรอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่อุปกรณ์เดินเบา (IDLE) ก็เช่นกันเป็น
อุปกรณ์ที่ให้การไหลของก๊าซคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรอบของเครื่องยนต์
ส่วนตัว SENSITIVE จะเปลี่ยนตามแรงดูด เพราะตัว SENSITIVE เป็นสปริง จ่ายแก๊สออกมากหรือน้อยตามแรงดูดของ
เครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นจะต้องหาตำแหน่งที่เหมาะสมของ SENSITIVE โดยการเปิดพาวเวอร์วาวล์ให้กว้างก่อนเพื่อให้
แก๊สสามารถไหลเข้า MIXER ได้สะดวก (ตามข้อ 3 วิธีการจูนระบบดูด)

การทำงานของรอบเครื่องยนต์ หลักๆ มี 2 สถานะ คือ การทำงานที่อยู่ในรอบเดินเบา คือสตาร์ทรถขณะที่รถจอดเครื่องยนต์
ทำงาน จะมีภาระโหลดหรือไม่มีก็ได้ การมีภาระโหลด เช่น การเปิดแอร์, การเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วิทยุ, ไฟหน้ารถ อื่นๆ
และสถานะที่สอง คือการทำงานของเครื่องยนต์ในรอบเร่ง คือการกดคันเร่งให้รถวิ่งไปได้ วิ่งช้าวิ่งเร็ว ก็อยู่ในสถานะรอบเร่ง
เพราะฉะนั้นรอบเร่งก็มีรอบเร่งที่ 1500 รอบ, 2000 รอบ, 2500 รอบ, 3000 รอบ, 3500 รอบ, 4000 รอบ หรือ 4,500 รอบ
ตามขนาดของเครื่องยนต์ หรือสเปคการเร่งรอบเปลี่ยนเกียร์ของเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อ
เป้าหมายของการจูนแก๊ส   คือจูนเพื่อให้แก๊สสิ้นเปลืองน้อยสุดได้กำลังมากที่สุด ทำให้อัตราส่วนเหมาะสมกับกำลังที่ทำได้
การปรับจูนต้องใช้ 2 คน คนหนึ่งเยีบบคันเร่ง (ระวังให้เกียร์รถอยู่ตำแหน่ง เกียร์ว่าง) อีกคนคอยปรับจูนที่วาวล์
การจูนขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา จัดให้เครื่องยนต์ต้องไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้า
วิธีการจูนระบบดูด (MIXER) ขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา รถยนต์ทำงานอยู่กับที่
1)  ก่อนทำการจูนทุกครั้ง ต้องอุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงานก่อน  ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน หรือเข็มอุณหภูมิอยู่ใน
ตำแหน่งทำงานปกติ
2)  ดับเครื่องยนต์
3)  เปิดวาวล์กลางสายให้กว้างไว้ก่อน โดยการหมุนวาวล์กลางสายออกประมา 3 รอบ หมุนให้ก๊าซออกมาก่อน
(การ BACK FIRE เกิดจากส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงบางมาก จนทำให้เกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองได้ คือ
ไอดี สามารถสันดาปและจุดระเบิดด้วยตัวเองได้  วิธีการปรับก๊าซคือจูนให้ส่วนผสมไอดีหนาไว้ก่อน และค่อยปรับ
เบาลงมา)
4)  หมุนสกรู SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา จนสุด สริงจะไปกดไดอะแฟลม ไดอะแฟลมจะไม่เปิด
5)  หมุนสกรู เดินเบาคลายออก ~ 1/4 รอบ
6)  จากนั้นทำการสตาร์ทเครื่องยนต์โดยการใช้ก๊าซ ถ้าไม่ติดให้คลายสกรูเดินเบา ออกมาอีก 1/4 รอบ  แล้วทำการสตาร์ท
อีกครั้ง ถ้าไม่ติดก็คลายออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสตาร์ทติดโดยคลายออกทีละ 1/4 รอบ
7)  เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดเรียบร้อย และอยู่ในรอบเดินเบา (รอบเดินเบาตามปกติ ~800 + / – 50 รอบ / นาที
ขณะนี้ SENSITIVE ไม่ได้จ่ายก๊าซออกมา เพราะว่าหมุนปิด SENSITIVE อยู่ ปิดสุดไปตามข้อ 4)  ทำให้การใช้เชื้อเพลิง
ก๊าซขณะนี้ได้รอบเดินเบาเท่ากับการใช้ระบบเชื้อเพลิงน้ำมัน
8)  หมุนสกรูเดินเบาเข้า จนรอบเครื่องยนต์ตกประมาณ 600 รอบ (เครื่องยนต์สั่น)
9)  คลายสกรู SENSITIVE ออกจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์อยู๋ในรอบเดินเบาปกติประมาณ 800 + / – 50 รอบ
(คลาย SENSITIVE สปริงจะคายออก)
10)  จากนี้เร่งเครื่องที่ 3,000 – 4,000 รอบ / นาที  ให้นิ่งที่สุด (คือเยีบบเท้านิ่งไว้ แช่ไว้ที่รอบ 3,000, 3,500, หรือ 4,000
รอบ / นาที อย่างใดอย่างหนึ่ง ปกติจะให้เท้านิ่งอยู่ที่ 3,000 รอบ / นาที จุดนี้จะเป็นการหาจุด PEAK ของการ
จูนแก๊สระบบดูด   (การหาจุด PEAK คือหาจุดสูงสุด ที่สามารถใช้ก๊าซได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
โดยการเร่งรอบเครื่องให้นิ่งที่สุดที่ 3,000 – 4,000 รอบ / นาที ขึ้นอยู่กำลังสเปคของเครื่องยนต์ว่าให้กำลังดีที่สุดที่
รอบเท่าไหร่     และขณะที่เท้าเยียบคันเร่งอยู่กับที่ที่ 3,000 รอบแล้ว ขณะจูน PEAK รอบเครื่องยนต์อาจขยับไปมา
แต่เท้าต้องนิ่งอยู่กับที่  และเราอาจเห็นรอบเครื่องยนต์ตก หรือ เพิ่มขึ้น ไม่ต้องสนใจ ต้องคงเท้าไว้ที่เดิมที่ครั้งแรก
เยียบเร่งรอบถึงจุด 3,000 รอบ / นาที่ ให้นิ่ง แล้วจึงปรับจูน และขณะปรับจูนเท้าต้องนิ่งอยู่กับที่เดิม)
11)  หมุนวาวล์พาวเวอร์วาวล์ หรือเรียกวาวล์กลางสาย ตามเข็มนาฬิกา ให้รอบตก เมื่อรอบตกแสดงว่าแก๊สจ่ายไม่พอ
และหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกา รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นให้หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวน
เข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่ง ถึงจะหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกา
เพิ่มขึ้น รอบก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป นั่นหมายถึงปริมาณแก๊สมีมากเกินความต้องการของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์
จะเริ่มสั่นจนเกือบดับ แต่ต้องไม่หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกาจนเครื่องยนต์ดับ
จากตรงนี้ให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับมา ตามเข็มนาฬิกา หมุนกลับไปหารอบสูงสุดก่อนที่เสียงรอบเครื่องยนต์จะเริ่ม
ตก จุดที่เสียงเครื่องยนต์คำรามสูงสุดนั่นคือจุดพีค (PEAK)
12)  ดังนั้นทบทวนการหาจุด PEAK โดยหมุนวาวล์กลางสายเข้าๆ ออกๆ หาจุดที่รอบเครื่องยนต์เร่งมากที่สุด
คือเร่งสูงสุด โดยการคลายวาวล์กลางสายออกคลายออกจนกระทั่งเครื่องยนต์เกือบจะดับ เครื่องสั่น เมื่อหาจุดเร่ง
สูงสุดได้แล้ว ก็ให้หาจุดเดินเบาต่ำสุดโดยขันพาวเวอร์วาวล์เข้าตามเข็มนาฬิกา โดยให้รอบเครื่องยนต์เบาลงต่ำสุด
จนรอบตกและเครื่องยนต์สั่น  จากนั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกากลับมาหาจุดที่รอบเร่งเครื่องยนต์ที่สูงสุด ก่อนที่รอบสูง
สุดนั้นจะตกลงในขณะที่เยีบบคันเร่งที่ 3,000 รอบ หรือถ้ายังไม่แน่ใจให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับไปมาจนได้ยิน
เสียงคำรามของเครื่องยนต์ เสียง ‘วืด’ ที่รอบสูงสุด จุดนี้คือจุด PEAK (ถ้าไม่หาจุดที่เดินเบาต่ำสุดเปรียบเทียบก็จะ
ไม่ทราบแน่ชัดว่าจุดใดแน่ที่จะเป็นจุด PEAK การเร่งรอบจนเลยจุดสูงสุด กับเร่งหารอบจนเกือบต่ำสุด จะทำให้
ได้ยินเสียงจุด PEAK ได้ชัดเจนกว่า)

การจูนโดยการทดสอบวิ่งบนถนน
13)  ทดลองวิ่งรถโดยใช้เชื้อเพลิงแก๊ส
14)  ถ้าอยากให้ได้กำลังทุกรอบการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้คลายวาวล์กลางสายออกมาอีก 1 / 4 รอบ จากที่ได้ทำ
การปรับจูนในข้อ 12 แล้ว คือหลังจากที่ได้ตำแหน่งจุดพีคของรอบเครื่องยนต์แล้ว  (ถ้าคิดว่าได้รอบและกำลัง
เครื่องยนต์แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องคลายออก แต่การคงระดับปริมาณแก๊สไว้ตามข้อ 12  ขณะที่รถวิ่งอาจจะไม่พอ
เหมาะเพราะข้อ 12 เป็นการหาจุด PEAK ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่กับที่ เมื่อวิ่งรอบสูงจริงก๊าซ อาจจ่ายไม่พอ
หากไม่คลายวาวล์กลางสายออก 1/4 รอบ ก่อนการทดลองวิ่ง  และถ้าหากเน้นประหยัด วิ่งไม่เร็วมากเท่าไหร ก็ให้
หมุนวาวล์กลางสายทิศทางตามเข็มนาฬิกา 1/4 รอบ จากจุด PEAK คือเป็นการลดปริมาณจ่ายแก๊สลง
ลักษณะของอุปกรณ์
1)  วาวล์กลางสายมีขนาดมาตรฐาน, ท่อ MIXER มีขนาด 22 มม. ขึ้นไป ถึง 38 มม. จุดที่วัดคือคอขอดด้านใน
มาตรฐานที่ใช้ทั่วไปสำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบ ~24 – 28 มม. ถ้าเป็นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ CC มาก MIXER ก็จะ
ใหญ่ขึ้นตามไป
2)  MIXER บางแบบครอบตรงเรือนลิ้นเร่ง  บางแบบติดอยู่ที่ท่อกรองอากาศ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
3)  ถ้า PRESSURE สูง 2-3 BAR ไม่ดีกับรอบต่ำเพราะก๊าซจะไหลได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการดูดของเครื่องยนต์ ก๊าซ
จะไหลเองโดยไม่จำเป็น
4)  เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบคาร์บูเรเตอร์ จะใช้งานก๊าซเป็นระบบดูด (MIXER)
5)  เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบ AIRFLOW SENSOR ควรใช้งานกับระบบหัวฉีด  AIR  FLOW  METER จะเป็น
ตัววัดปริมาณอากาศ เมื่อทำงานรอบเดินเบาอากาศเข้าน้อย อาจทำให้ไอดีบาง อาจเป็นอันตรายขณะจูนหากใช้ MIXER
6)  การเปลี่ยนหัวเทียนใหม่, การเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ ต้องมีการปรับจูนการจ่ายก๊าซใหม่  ระยะการเปลี่ยนหัวเทียน
ให้เปลี่ยนทุก 20,000 กม.  และการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ควรตรวจเช็ค เป่า หรือเปลี่ยนทุก 10,000 กม.  กรอง
อากาศในระบบดูดจะดำเร็ว
7)  ถ้ากรองอากาศตัน  อากาศเข้าน้อย เครื่องยนต์จะดูดก๊าซเข้าไปมาก  ก๊าซที่วิ่งได้ 10.0 กม. / ลิตร ความสิ้นเปลือง
จะมากกว่าน้ำมัน ซึ่งเชื้อเพลิงน้ำจะอยู่ประมาณ 12 กม. / ลิตร
การจูนก๊าซระบบดูดวิธีที่ 2  ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานการจูนคล้ายกัน
1.  อุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงาน
2.  ดับเครื่องยนต์
3.  หมุนวาวล์กลางสายออกประมาณ 3 รอบ (จ่ายก๊าซออกมา)
4.  หมุนสกรูเดินเบา หมุนเข้าจนสุด (ปิดเลย)
5.  หมุนสกรู SENSITIVE ออกมา ~ 3 – 4 รอบ
6.  สตาร์ทเครื่องยนต์ ปรับรอบเดินเบาให้ได้ตาม SPEC ของเครื่องยนต์ เช่น 800 + / – 50 รอบ / นาที ขณะนี้แสดงว่า
SENSITIVE จ่ายแก๊สออกมาเพียงตัวเดียว และสปริง SENSITIVE อยู่ในจังหวะอ่อนอยู่
7.  หมุนสกรู SENSITIVE เข้าให้รอบเครื่องยนต์เดินเบา อยู่ที่ประมาณ 600 รอบ / นาที
8.  คลายสกรูเดินเบาออกจนกว่ารอบเดินเบาจะเดินปกติที่ 800 + / – 50 รอบ / นาที
9.  หาจุด PEAK เหมือนวิธีที่ 1 เร่งรอบเครื่องยนต์หมุนวาวล์กลางสาย เข้าๆ – ออกๆ หาจุด PEAK และดูอัตราการ
กินก๊าซ โดยปกติการใช้เชื้อเพลิงก๊าซของเครื่องยนต์ ปกติ ~ 8 -  9 / ลิตร
ความแตกต่างของการจูนอยู่ที่การตั้งค่าสกรู SENSITIVE และสกรูรอบเดินเบา
หลังจากนั้นถ้าหากต้องการจูนแบบละเอียด ให้ปรับ SENSITIVE วาวล์ และ IDLE วาวล์ แบบละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีการปรับ SENSITIVE วาวล์แบบละเอียด
1.  เปิด SENSITIVE  วาวล์ ออกมามากหน่อย โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้เครื่องยนต์จ่ายแก๊สได้พอ
2.  ปิด IDLE วาวล์  วิธีการปิด IDLE วาวล์ค่อยๆ ปิด โดยการปรับไปพร้อมๆ กับ SENSITIVE วาวล์ เพื่อเลี้ยงไม่ให้
เครื่องยนต์ดับ จนกว่าจะสามารถปิด IDLE วาวล์ได้หมด
3.  เมื่อเปิด  SENSITIVE วาวล์ตามข้อ 1. มาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะนิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งการจ่ายแก๊สจะ
หนาขึ้น หนาขึ้นจนเกินความต้องการของเครื่องยนต์ คือแก๊สเริ่มท่วม เครื่องยนต์ทำท่าจะดับ ให้รีบหมุน
SENSITIVE กลับเข็มตามนาฬิกา เพื่อเลี้ยงไม่ให้เครื่องยนต์ดับ
4.  หมุน SENSITIVE วาวล์ กลับตามเข็มนาฬิกาจนถึงจุดที่เครื่องยนต์เดินได้นิ่ง และให้ดูและจดจำรอบเครื่องยนต์
ไว้ หรืออาจใช้ความรู้สึก ตรงจุดที่หมุน SENSITIVE กลับตามเข็มนาฬิกาแล้วเครื่องยนต์นิ่ง   ตรงจุดนี้ถือว่า
สามารถหาตำแหน่งของ SENSITIVE วาวล์ได้แล้ว จากนั้น
5.  ให้หมุนปิด SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา เรื่อยมาจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลงสัก 200-300 รอบ / นาที
นับจากจุดที่รอบเครื่องยนต์นิ่ง หรือหมุน SENSTIVE วาวล์ตามเข็มนาฬิกาจนรอบเครื่องยนต์เริ่มสั่น
หลังจากการหมุนปิด SENSITIVE จนรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลง 200-300 รอบ / นาที การจ่ายแก๊สขณะนี้ลดลง
ขั้นตอนต่อไปคือปรับ IDLE วาวล์เพื่อให้จ่ายแก๊สเข้ามาเสริม ขณะที่รอบเครื่องยนต์ต่ำลง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถ
ทำงานได้ในรอบต่ำ
วิธีจูน IDLE วาวล์แบบเหมาะสม  
1.  คลาย IDLE วาวล์ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ออกมาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น  คือแก๊สจ่าย
เข้า MIXER เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นให้คลาย IDLE วาวล์ไปเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์ก็จะเพิ่มชึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงจุด
ที่รอบเครื่องยนต์ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก  และคลาย IDLE วาวล์ต่อไปอีกเพื่อหาจุดที่แก๊สจ่ายหนาเกิน จน
รอบเครื่องยนต์จะตกอย่างไว เพราะการจ่ายแก๊สหนา ให้จำตำแหน่งที่รอบเครื่องยนต์เริ่มจะตกไว้
2.  ลด IDLE วาวล์ โดยการหมุนตามเข็มนาฬิกา ลดจนรอบเครื่องยนต์เริ่มตก และให้จำตำแหน่งนั้นไว้
3.  เมื่อได้ตำแหน่งของการเปิด และปิด IDLE วาวล์ ตรงจุดที่กำลังของเครื่องยนต์กำลังจะตกทั้งสองจุด ก็มา
ปรับให้ IDLE วาวล์อยู่ในตำแหน่งระหว่าง 2 จุดนี้และรอบเครื่องยนต์ยังนิ่งอยู่ ทั้งที่เปิดแอร์ และปิดแอร์ หรือ
ทั้งมีหรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้าของรถยนต์
ปกติแล้วตำแหน่งที่เครื่องยนต์นิ่งตรงจุดที่ IDLE วาวล์ เปิดแอร์ กับปิดแอร์ หรือเปิดภาระทางไฟฟ้า กับปิดภาระ
ทางไฟฟ้า จะอยู่คนละตำแหน่งกัน  ดังนั้นจึงให้ปรับ IDLE วาวล์ไว้ที่ตำแหน่งกลางระหว่าง 2 จุดตามข้อ 3 ก็
ใช้ได้แล้ว
เป้าหมายการจูนคือให้เครื่องยนต์นิ่งเมื่อมีภาระโหลดทางไฟฟ้า หรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้า และเครื่องสามารถ
ทำงานได้ทั้งในสภาวะรอบเดินเบา และรอบเร่ง โดยมีอัตราส่วนผสมไอดีที่พอเหมาะ
จบการจูนแก๊สระบบดูดเท่านี้ ทุกท่านสามารถทดสอบได้ด้วยตนเองตามขั้นตอน และตามสภาพของเครื่องยนต์ของ
ท่าน การปรับจูนอาจไม่จำเป็นต้องครบทุกขั้นตอน ถ้าหากสามารถปรับจูนได้ตามเป้าหมายแล้ว หรือมีความชำนาญ
แล้วก็อาจเลือกการปรับจูนวิธีที่ 2 เลยก็ได้ แล้วแต่ความถนัด

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

แบตเตอรี่ syndy


22/2/15
วันนี้เข้าร้านแบตตรวจสอบค่า cca ได้ค่าออกมาคือ311 ส่วนค่ามาตรฐานคือ 348
ข้อมูลจาก http://www.batterybbdelivery.com/gs_n50zl_conventional_car_battery.php#.VOm2j8tGxiI


จากการหยุดสงกรานต์ ไม่ได้ไปไหนซ่อมแซมบ้านวันจันทร์พอจะใช้รถ ดันสตาร์ทรถไม่ได้ต้องพ่วงถึงจะติดไม่คิดว่าแบตจะเสียหาว่าไฟรั่วหรือเปล่า หรือไดชาร์ทมีปัญหาหรือเปล่า หาเองตอนแรกคิดว่าไฟรั่ว ไปที่ร้าน ช่างก็บอกว่าไม่รั่วน่าจะเป็นที่ไดสตาร์ท แต่เราก็ยังไม่เชื่อนัก ลองเอาแบตพี่ชายมาใช้สรุปปกติ พอกลับมาเอาแบตของเรามาสตาร์ทมันก็ไม่ติดผมเลยคิดว่าเป็นที่แบต เลยเอาไปให้ทางร้านขายแบตเตอรี่ดู ดีที่ร้านเค้ามีเครื่องวัดค่า CCA ตอนที่ไปวัดได้ค่าแค่ 50 CCA ตามค่ามาตรฐานแบตGSที่ใช้ 60 แอมป์ ค่าCCA ประมาณ 350 CCA

และก่อนที่จะซื้อแบตผมก็ให้ร้านเค้าตรวจสอบ ไฟรั่ว, แรงดันไฟ, กระแสไฟ สรุปปกติครับ
ไฟรั่วค่า 0.01
แรงดันไฟ 13.2-14.00 ตามกำลังเครื่อง
กระแส จำไม่ได้ครับ

ผมเลยจำใจต้องเปลี่ยนแบตลูกใหม่ แต่คราวนี้ลอง 3K ขนาด 60 แอมป์ ค่าCCA วัดไดก่อนใช้คือ 352 CCA ดูครับถูกลงมา 100 กะว่าคราวหน้าอยาจะลอง 45 แอมป์ ตามมาตรฐานรถดูบ้าง

สำหรับการโพสต์ครั้งนี้ก็ไม่มีอะไร แค่บอกว่าผมไม่สามารถทำตามที่ตั้งใจไว้ได้ว่าจะใช้แบตลูกนี้ให้ได้ถึง 3ปี ตอนนี้ยังไม่ถึง 2 ปี ก็ต้องจากกันแล้ว ต้องหาทางต่อไปที่จะทำยังไงให้มันอยู่กับเราไปได้นานกว่านี้ครับ โปรเจคต่อไปสำหรับการดูแลมัน คือการทำที่กันความร้อนให้แบตเตอรี่เราครับ ผมเลยขอกล่องใส่แบตเค้ามา ว่าจะทำชุดป้องกันความร้อนพร้อมพัดลมระบายความร้อนด้วย

วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556

ล้างตู้แอร์+เปลี่ยนไดเออร์+วาล์ว

จากเหตุที่แอร์ไม่เย็นตอนกลางวันเวลาจอดรถตากแดดไว้  ทำให้เลยต้องมาใช้บริการล้างตู้แอร์จากช่างจิ๋ว คุยไปคุยมาสรุปให้ล้างตู้เลยแล้วกัน
ภาพแรกถอดออกมาจากใต้คอนโซลหน้ามันก็จะโลงแบบนี้ครับ


หลังจากนั้นพี่เค้าก็ถอดพัดลมที่ติดกับตู้แอร์ ตอนนี้ไม่ได้ถ่ายกลัวจะโดนว่าเอาว่าถ่ายอยู่ได้ เลยถ่ายที่จำเป็นก่อนครับ  จำทำให้ได้ภาพออกมาไม่มากนั้ก
พัดลมก็ใกล้จะถึงฝั่งแล้วด้วยเอาเป็นว่าขอพูดเกี่ยวกับตู้แอร์อย่างเดียวแล้วกัน


 
 ตอนนี้แยร่างออกมาภาพที่เห็นเน่ามากครับทั้งฝุ่นทั้ง.... ไม่รู้อะไรเต็มไปหมด

  
ด้านข้างไม่ค่อยเท่าไหร่ครับ

 

แต่อีก 2 ภาพด้านบนแย่มากไม่รู้เราจะหายใจเอาอะไรเข้าไปบ้าง
หลังจากนั้นก็ให้ไปอาบน้ำลงน้ำยาแต่แปลกใจความนี้ลงน้ำยาด้วย เพราะคราวก่อนพี่เค้าเอาแต่น้ำราดอย่างเดียวเลยไม่แน่ใจสิ่งที่ถูกและดีที่สุดคืออะไรกันแน่ระหว่าง
ล้างด้วยน้ำธรรมดา
ล้างด้วยน้ำยาและตามด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง เพราะว่าน้ำยามันจะไปกัดทำให้แผงคล์อยเย็นจะมีปัญหา??



แตสุดท้ายก็เค้าทำไปแล้วครับ ก็ต้องเลยตามเลยไปผลออกมาไม่ได้ถ่ายครับมั่วแต่นั่งแต่งครีบเพราะมันลม และโดนด่าจนได้ เพราะคงเสียเวลาเค้าครับ แต่เราคนใช้มันก็อยากจะทำ จำใจต้องหยุดทำครับ













และด้วยเหตุว่าน้ำมันหยดในห้องเพราะเดิมรูมันอาจจะสูงไปนิดหรือยังไงไม่รู้ ช่างก็เลยแนะนำให้เจาะใหม่ เจาะก็เจาะรูเก่าผมก็ว่าจะทำให้เป็นช่องที่สายไฟเข้ามาในรถก็ได้


สรุปโดนไป 2000
ล้างตู้ปกติ1300(พร้อมค่าแรงน้ำยาแอร์)
ไดเออร์ 150
และก็วาล์ว 550
ครับ

วันอังคารที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2556

วิธีดูแลรักษาแบตเตอรี่รถยนต์ ให้อยู่กับเรานานที่สุด

ลิ้งที่เกี่ยวข้อง ประโยชน์จากเกจวัดโวลต์ 
ซึ่งผมได้เขียนไว้สักระยะแล้ว แต่คราวนี้เอาเรื่อง แบตเตอรี่ ตรงๆ เลยให้ใช้กันได้ยาวๆ ไปเลยเพราะซื้อมาแล้วไม่ใช้บาท 2 บาท
เหตุที่ผมเขียนเรื่องนี้เพราะว่า หลังจากที่ที่ทราบข่าวว่าน้องสาวเพื่อนแฟนผมเป็นมะเร็ง 
ผมเลยเกลงว่าเราจะเป็นด้วยเพราะว่ามีอาการคล้ายๆ กัน
เข้าเรื่องกันเลย

แบตเตอรี่รถยนต์

 เราเป็นคนใช้รู้แค่เบื้องต้นพอก็คือมันมีอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ
  1. สิ่งที่เราเห็นกันคือ ไอ้เจ้าพลาสติกที่เราเห็นเป็นรูป 4 เหลี่ยมที่เราเรียกมันว่าแบตเตอรี่แหละครับ เป็นเหมือนกล่อง 1 ใบ
  2. แผ่นธาตุ ที่อยู่เข้าใน
  3. น้ำกรด
ซึ่งทั้ง 3 อย่างที่เราต้องดูแลมันครับ แต่จะดูแลได้มากหรือน้อยเท่าไหร่ตามอ่านกันต่อครับ
เจ้ากล่องพลาสติกเราทำได้แค่ทำความสะอาดมันเท่านั้นครับ หรือไม่ก็จะทำให้มันอยู่อย่างสุขบายมากขึ้น ก็จะมีชุดป้องกันความร้อนแบตติดรถยนต์ที่ออกมาจากโรงงานผมว่ามันจะมีมาให้ครับพื่อป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ซึ่งจะทำให้มันบวมหรือเสียหายได้ในระยะยาวครับ เราช่วยกันความร้อนให้มันมากเท่าไหร่ได้มันก็จะดีถูกหรือเปล่าครับ

ส่วนข้อ 2 แผ่นธาตุ 
มันจะธาตุอะไรชั่งมันเถอะครับหรืออยากจะรู้ก็หาอ่านเอาคงมีหลายที่บอกอยู่  ส่วนสำหรับผมทำอะไรไม่ได้เลยนอกจากสังเกตุว่ามันจะลาจากเราไปเมื่อไหร่เท่านั้นครับ  อ่อลืมไปเราจะช่วยมันได้ก็ทางอ้อมๆ อ่านต่อไปครับซึ่งมันจะเกี่ยวกันกับแผ่นธาตุครับ

ส่วนข้อ 3 น้ำกรด 
ผมให้ความสำคัญกับข้อนี้มากที่สุดครับเพราะมันเป็นตัวเก็บกระแสไฟ  ฉะนั้นหากน้ำกรดผิดไปจากมาตรฐานที่ควรจะเป็นก็ส่งผลให้เกิดผลต่างๆครับเช่นเก็บไฟไม่อยู่หรือชาร์ไม่เข้าอะไรประมาณนั้น

หนทางแก้ไขสำหรับผมคือทำให้น้ำกรดเป็นไปตามมาตรฐานซะ โดย
กรณีปกติ
คือเราก็เติมน้ำกลั่นให้ตามระดับที่เค้ากำหนดครับ
ตรวจสอบไดชาร์ทให้ทำงานปกติ เพราะถ้ามันไม่ปกติ จะส่งผลกับแบตของเรา เช่น
ถ้ามันไม่ตัด มันก็จะชาร์ทไฟเข้าแบตเราตลอดทั้งๆ ที่ไฟเต็มแล้วก็ตาม ทำให้แบตมันร้อนและเสียหายได้ 
ถ้ามันชาร์ทไม่พอ คือไดชาร์ททำงานสร้างกระแสไฟไม่พอสำหรับการใช้งาน เพราะรถต้องใช้ไฟในการจุดระเบิดและเครื่องใช้อื่นภายในรถร่วมทั้งชาร์ทไฟให้กับแบตด้วย หากเกิดมันมีปัญหาดังกล่าว ผลก็คือตอนเช้าคุณก็จะติดเครื่องไม่ได้นั้นเอง 

ปัญหาดังกล่าวจะตรวจสอบได้ง่ายไม่ยากนั
ตามลิ้งได้บนที่ให้ไว้

ประโยชน์จากเกจวัดโวลต์ 

เพราะที่จะให้ความสำคัญกับไดชาร์ท เพราะมันส่งผลกับบตเลยต้องกล่าวเพิ่มเติม ถ้าคุณไม่ได้ดูแลไดชาร์ทเท่ากับว่าคุณก็ไม่ดูแลแบตเตอรี่รถยนต์ด้วยเช่นกัน
ไดชาร์ท ควรจะมีแรงดันไฟ( V.) ที่พอที่จะชาร์ทได้
คือยังไงก็ควรมากกว่า 12V. ถูกต้องเปล่าครับ เพราะแบตมันก็ 12V. มันเท่ากันแล้วไฟจะชาร์ทเข้าได้อย่างไร รียบเสมือน่อยางและทั้ง2ด้านต่อกับเข็มฉีดยา สมมุติทางซ้ายมีน้ำอยู่นิดหน่อย ทางขวามีอยู่เต็มและออกแรกดันทั้ง2ข้างพร้อมกันเท่าๆ กันคุณคิดว่าน้ำมันจะเครื่องที่ได้หรือไม่??????  มันก็ไม่ได้ถูกต้องเปล่าครับ
ราะฉะนั้นแรงดันมันต้องมากกว่า 12V. คือ 13.5แต่ไม่ควรเกิน 15V. เพราะถ้ายิ่งมันไฟมันมาเร็วก็จะทำให้แบตร้อนซึ่งจะทำให้ทุกอย่างเสื่อมสภาพไว้ขึ้น

่อมาก็ต้องดูว่ามีไฟชาร์ทให้กับแบตพอหรือไม่ 
คราวนี้ต้อมีเครื่องมือเข้ามาช่วยครับคือ amp มิเตอร์ ขอพูดตามร้านทั่วไปคุณจะเห็นเค้าทำเป็นกล่องและมีสายหนีบที่แบตและก็ที่สายไฟที่มาจากไดชาร์ทเพื่อดูว่ามีไฟชาร์ทเข้าแบตพอหรือไม่ครับ
รายละเอียดเดี๋ยวจะเขียนให้ละเอียดอีกทีครับ

จากที่กล่าวมาเป็นการดูแลที่เราพอจะทำได้โดยทั่วๆ ไป
หลังจากนี้เป็นจุดสำคัญที่ไม่ค่อยมีคนพูด ไม่ค่อยมีคนบอก ถึงแม้แต่ร้านขายแบต ร้านซ่อมไดร์ทก็ไม่ค่อยพูด แต่ผมขอบอกเพื่อที่ความรู้นี้จะได้อยู่กับคนที่อ่านต่อๆไป ครับเผื่อผมตายไปดีกว่าสิ่งที่ผมรู้มันตายไปกับผมคือ
น้ำกรดที่อยู่ในแบตถ้าคุณตรวจสอบได้ว่ามันมีความถ่วงจำเพาะ เป็นไปมาตรฐานหรือไม่ก็จะทำให้แบตเก็บไฟได้หรือไม่ได้หรือไม่ดีเท่าที่ควร
อันนี้ต้องหาซื้อมาใช้ครับเป็นอุปกรชิ้นหนึ่งที่คนรักรถควรจะมีครับ
คือ ไฮโดรมิเตอร์ 
หมดเวลาพิมพ์แล้วเดี๋ยวมาพิมพ์ต่อครับต้องไปทำหน้าที่สามีก่อน     
 

วันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2556

อาการเครื่องสะดุด จบแล้ว

วันที่ 19 มี.ค. 56 ตอนเย็นหาช่างซ่อมเรื่องอาการสะดุดของเครื่อง ช่างดูสักพัดก็ถอดหัวเทียนออก 3 หัวเอาไปปัดทำความสะอาด ส่วนอีกหัวถอดไม่ออก บอกว่าให้มาใหม่ไม่มีบล็อกหรือยังไงประมาณนั้น เสร็จก็ใส่กลับเข้าไป และก็ตั้งไฟใหม่ ขับออกมาก็ปกติ แต่เห็นว่าการตั้งไฟแบบนี้คงไม่ดีแน่ คือมันสุดเลยไม่ดันไปสุดก็ดึงมาสุด เลยจอดรถและปรับเอง อาการก็ยังไม่หายทนขับกลับไปถึงบ้าน ดีที่เจอช่างในหมู่บ้านช่างดูให้บอกว่าเป็นที่สายหัวเทียน แต่มันดึกแล้ว ร้านปิดหมด
วันรุ่งขึ้นผมเลยต้องไปซื้อสายหัวเทียนมาเปรียนเอง สรุปหายอาการสะดุด
อาการสะดุด
วิธีแก้คืออาจเปลี่ยนสายหัวเทียน 
เพราะว่าถ้าเป็นที่หัวเทียน สูบนั้นก็คงจะไม่ทำงาน แต่นี้มันทำงานทุกสูบแต่สะดุดจึงน่าจะเป็นที่สายหัวเทียน 
เลยเปลี่ยนใหม่ ยกชุด 450.-   

ตามหาซื้อยาง

ต้นยางยนต์ / TJ Automax
081 385 7212
083 809 4768
6:00-24:00 พระราม2

[ ที่ตั้ง: ลงทางด่วนป้ายสมุทรสาคร (ดาวคะนอง) ชิดซ้ายกลับรถเกือกม้า แล้วชิดซ้ายข้ามสะพาน แล้วเข้าซอยพระราม2ที่28 เข้ามา 1นาทีมีปั้มบางจากซ้ายมือ เลยปั้ม 50 เมตร อยู่ทางขวามือ]
พิกัด GPS: N 13˚40.945΄ E 100˚27.955΄ พิกัดยังไม่แน่ชัดต้องโทรถาม]

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

ปัญหาเครื่องสะดุด ณ 2556/03/09

หลังจากจอดรถหาอะไรกิน แล้วจะขึ้นรถเห็นว่ามันร้อนเลยมองหาน้ำมาฉีดหน้ารถ ให้แอร์มันเย็นเร็วขึ้น สักพักก็ขึ้นรถกันไปรถมันสะดุดๆ ผิดปกติ เราก็ไม่รู้ว่ามันเป็นไรจอดรถดู เปิดฝากระโปรงดูได้ยินเสียงดังที่บริเวณฝาสูบดังปุ๊กๆๆ คิดไม่ออกว่าเป็นไรว่าจะหาอู่แต่นึกถึงน้องที่รู้จักกันในFB เลยโทรไปถามว่าอยู่เปล่า สรุปน้องเค้าอยู่เลยขับไปหาระหว่างทางออกตัว สะดุดดับบ่อย เลยปิดแอร์ ขับไปถึงบ้านน้องเค้ารถหายซะงั้น แต่ยังไงก็ให้น้องเค้าดูอยู่ดี น้องเค้าดูๆให้เดาว่าน่าจะมีน้ำเข้าที่สายหัวเทียน น้องเค้าเอาไขควงแย่ที่บริเวณหัวเทียน มันก็ดังสรุปไฟมันกระโดดลงกราว และลองดึงสายหัวเทียนเส้นนี้ออกมาพบว่ามีน้ำนิดหน่อยเช็ดเสร็จดีขึ้นครับ แต่พบขับออกจากบ้านน้องเค้ามันก็ยังเดินไม่เรียบ เวลาเหยียบมันจะสะดุด เลยพยายามหาซื้อสายหัวเทียนใหม่แต่ยังไม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2556

ถ่ายน้ำมันเครื่อง และ น้ำมันเบรก ให้Syndyที่รัก

เนื่องจากเครื่องหลวม ทำให้น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพไว้ 5 พันโลก็เริ่มดำแล้วจึงจัดการเปลี่ยนซะ
อุปกรณ์ไม่มีอะไรมาก
  1. ประแจแหวนเบอร์ 14 
  2. ที่รองรับน้ำมันเครื่อง
  3. แหวนรองน็อต 1 อัน
  4. ที่ถอดกรองน้ำมันเครื่อง
  5. และก็น้ำมันเครื่องใหม่ 
เริ่มจากมุดเข้าไปใต้ท้องรถ B11 เดิมๆ มันทำงานไม่ยากนักนอนลงก็จัดการได้แล้วไม่ต้องยกรถให้เสียเวลาครับ
 ถอดน็อตเสร็จน้ำมันก็ไหล เราก็เปิดฝาหรือไม่ก็ยกก้านวัดน้ำมันออก เพื่อให้อากาศเข้าไปแทนที่ มันจะได้ไหลออกมาเร็วๆ
กะดีๆ ครับไม่งั่นก็เป็นอย่างในรูป 5555
ไม่ก็หาอะไรที่มันใหญ่กว่านี้ครับ แต่ผมใช้แบบนี้เพราะมนเก็บง่ายไม่ต้องล้างครับ
 ตอนถอดกรองน้ำมันเครื่องไม่ได้ถ่ายครับถอดแล้วเป็นอย่างในรถรูปครับ กรองใหม่ที่จะใส่ครั้งน้ำไม่มีจารบีป้ายมาตรงยาง เลยต้องเอาน้ำมันเครื่องทาให้หน่อยครับ
ส่วนแหวนรองน็อตครั้งก่อนไม่ได้เปลี่ยนครั้งนี้เลยเปลี่ยนดีกว่าครับ
เราก็รอให้น้ำมันเครื่องมันไหลออกมาให้หมดเท่าที่จะทำได้ครับ ถ้าไปร้านให้เค้าเปลี่ยน มันยังไหลอยู่ช่างก็ขันน็อตเข้าที่แล้วครับมันไหลน้อยหน่อย ช่างเค้าไม่อยากรอครับ เสียเวลาเค้า แต่เราทำเองเราก็รอให้มันออกมามากที่สุดครับ หลังจากนั้นก็ขันน็อตเข้าที่เดิม
ส่วนกรองน้ำมันเครื่องที่มีน้ำมันอยู่เราก็คว่ำให้น้ำมันเครื่องออกมาซะ
กรองที่เห็น ผมเก็บไว้จากการเปลี่ยนที่... ครั่งก่อนนู้นนนนน บอกว่าไม่ต้องเปลี่ยนกรองครับ

เสร็จเราก็เก็บน้ำมันเครื่องที่ใช้แล้วในแกลนที่ไม่ได้ใช้แล้ว เพื่อนำไปทิ้งให้ถูกที่ (ผมว่าจะเอาไปให้ร้านซ่อมที่เค้ามีถังใหญ่ๆ เก็บน้ำมันที่ใช่แล้วครับโดยให้เค้าไปฟรีๆ ครับ) ดีกว่าทิ้งในถังขยะหรือที่อื่นๆ ครับ จะสร้างมลพิษเปล่าๆ
 หลังจากนั้นก็เติมน้ำมันเครื่องใหม่ให้กับรถเราครับ
เลขไมล์ ณ วันที่เปลี่ยนถ่ายครับ
 ผมทำตอนบ่าย (ร่ายกายไม่ค่อยดีเพิ่งหายไข ตากแดด ด้วยเลยหมดแรง)
กินข้าวเสร็จก็ไปนอน 1 ตื่น
เย็นมาต่อด้วยการเปลี่ยนน้ำมันเบรก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกและมันเย็นแล้วด้วย เลยไม่ได้ถ่าย ถ่ายแต่อุปกรณ์นิดหน่อยตามนี้
เป็นหลอดฉีดยาได้มานานแล้วลูกๆ เล่นมาเป็นเดือนแล้ว หาอะไรไม่ได้เลยใช้อันนี้แหละสำหรับการดูดน้ำมันเบรกที่อยู่ในกระปุก มันดำมาก เข้าเรื่องต่อ
สายยางที่เห็นใช้สำหรับใส่กับปั้มเบรกที่อยู่ติดกับล้อครับเพื่อให้มันไหลออกมาตามสายยางและผมก็เอากระป๋องน้ำมันเครื่องมารองรับครับ แต่ครั้งนี้ทำคนเดียวไม่ได้ต้องมีคนช่วยเหยียบเบรกและผมนอนเข้าในใต้ท้องรถตามเดิม(ไม่ได้ยกรถขึ้น)ลำบากหน่อยสำหรับการทำงานครั้งนี้
ตอนแรกให้ลูกชายคนโตช่วยเหยียบเบรก แต่ได้แค่ล้อเดียวก็ต้องขอให้ภรรยามาช่วยเหยียบแทนเพราะลูกชายมันไม่ได้เหยียบปกติ มันกระทึบเอาๆ กว่าจะเสร็จได้เล่นเอาเหนื่อยกันไปทั้งครอบครัวเลยงานนี้
แต่ประสบผลสำเร็จได้ด้วยดี
ไว้คราวหน้าจะถ่ายรูปมาให้ดูสำหรับการเปลี่ยนน้ำมันเบรกครับ

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลูกปืนล้อหน้าซ้ายแตก

วันที่อาทิตย์ที่ 17 ก.พ. 56
เดินทางไปงานวันคล้ายวันเกิดหลาน ยังไม่ถึงเสียงดังที่หน้ารถมาก ขับช้าๆ ประมาณ 60 ไปถึง B-Qick  ติวานนท์ ให้ช่างดู สรุปตามที่เราสงสัยเช่นกัน คือลูกปืนล้อหน้าซ้าย แต่ทำให้ไม่ได้ร้านอะไหล่ ปิดหมดแล้วเพราะตอนนี้เวลาประมาณ 20.30น.
ผมถามว่าขับกลับบ้านที่หนองแขมได้เปล่า ช่างบอกได้ขับไปเรื่อยๆ หลังจากนั้น
ผมขับไปร่วมงาน แต่ยังไม่ได้เข้าไปที่งานเพราะเห็นมีอู่เปิดอยู่เลยไปถามเรื่องลูกปืนล้อ ว่าเป็นแบบนี้ขับต่อไปได้เปล่า เค้าบอกว่าอย่างขับเลยเดี๋ยวล้อหลุด จริงไม่จริง ไม่รู้ แต่เอาปลอดภัยไว้ก่อนเลยจอดรถวันที่งาน และนั่งรถน้องกลับบ้าน และฝากให้น้องที่รู้จักตอนเช้าขับไปซ่อมให้หน่อย น้องเค้าก็ขับไปซ่อมให้อู่ที่ทำประจำ
เย็นวันรุ่งขึ้นผมมารับรถ ช่างบอก ลูกปืนแตกกระจายตอนถออดออกมาหมดเลย
หากเป็นเช่นนี้
รูปลูกปืน เก็บมาได้แค่ตลับเดียวครับ



ปะยางให้syndy


ด้วยการที่ถอดล้อออกมาจะทำสีฝาครอบดรัมเบรก

แต่ถอดไม่ออก เลยตรวจสภาพยางตามเดิมถ้ามีเวลาผลปรากฎว่าเจอตะปูยาวมากใช้คีมดึงมาแล้วลมออก จึงรีบอัดเข้าไปและใช้ค้อนตอกเข้าไปพอให้ลมไม่ออก เพื่อที่จะได้ขับไปปะได้ จึงประกอบล้อเพื่อไปปะ ไปถึงร้านเค้าก็ถอดล้อและก็จัดการ.... ผมหันหลังไปแป๊ปเดียวหันมาอีกที่เสร็จแล้วยังไม่ทันเห็นเลยว่าทำยังไง และช่างก็ใส่ล้อเข้าที่เดิม และผมก็ให้ช่างเค้าดูล้ออีกค้างว่ปกติเปล่า สรุปปกติ จ่ายเงินไป60.-บาท และก็ขับกลับบ้าน ตอนทำไม่ได้ถ่ายรูป กลับมาถ่ายรูปได้ตามนี้ครับ

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

การลดปริมาณยางพาราสำหรับแม่พิมพ์

ยางพาราสำหรับทำแม่พิมพ์ หากจะลดปริมาณยางพารา เราสามารถใช้สีอะคลีลิกผสมกับยางพาราเพื่อเพิ่มปริมาณได้ ผลมี่ได้จะทำให้เนื้อยางแข็งขึ้นและจะทำให้แห้งเร็วขึ้นด้วย

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไฟหน้าใหม่สำหรับ syndy

เมื่อวันที่ 4/2/56 ไปนัดเจอเพื่อรับไฟหน้าจากคุณโบตั๋นแล้ว ได้มาทั้ง ซ้ายและขวา คู่ละ600.- ตามที่ตกลงกัน ส่วนรูปเดี๋ยวเอามาลงให้ดูครับถึงจะมือสองแต่ก็ยังดีกว่าไฟหน้าที่ใช้อยู่ครับ
วันอาทิตย์ที่ 11 ก.พ. 56 ได้ลงมือเปลี่ยน
โครมไฟหน้าเดิมครับ แย่มากกลางคืนวิ่งบนถนน เหมือนไม่ได้เปิดไฟ เลย

 อีกภาพชัดๆ เห็นได้ว่าปรอทมันหลุดจากการเกิดสนิมมากๆๆๆๆๆ
ตอนถอดไม่ได้ถ่ายรูปเอาไว้เพราะรีบมาก เพราะคุณนายกำลังจะออกจากบ้านแล้ว ผมบอกขั้นตอนเอาแล้วกันนะครับ
คือ ถอดไฟหรี่ข้างโคมไฟหน้าก่อนจะได้ทำงานสะดวก จริงๆถ้าถอดโครงของโคมไฟหน้าออกมาด้วยก็จะดีมาก เริ่มจากน็อตบน 1 ตัว และข้างล้าง 2 ตัว(รถผมมันมีตัวเดียวอีกตัวไม่รู้ทำไมไม่มีแต่มีรูน็อตนะ ปกติคงจะมีแหละ) และทางซ้ายมือเราจะมีน็อตอีกตัวที่ยึดกับชุดของไฟหรี่แค่นี้โคมมันก็พอที่จะถอดออกได้แล้ว ที่เหลือก็น็อตตั้งไฟ 2 ตัว และสุดท้ายก็เป็นสปริงเกี่ยวโคมที่อยู่ด้านล้างครับไม่ยากครับ
แต่ก่อนหน้านี้ไม่กล้าหรือยังไงไม่รู้  แต่วันที่ทำลงมือ ก็ทำเสร็จในเวลาไม่นาน ไม่น่าจะถึง 20 นาทีก็เสร็จแล้ว ดูโคมไฟหน้าใหม่ที่ใส่เข้าไปกัน
ที่เห็นดำๆ ตรงขอบของโคมไฟ ผมเอาซีลีโคนยาเอาไว้ไม่รู้ว่ามันจะมีโอกาสที่น้ำมันจะเข้าเปล่าก็กันไว้ดีกว่าครับ คืนนั้นได้เปิดไฟ เพิ่งได้เห็นแสงสว่างก็หลังจากที่ได้เปลี่ยนโคมไฟนี้แหละ ช่วยได้เยอะเลย ที่ผ่านมาเหมือนคนตาบอดเลย ตอนนี้ตาสว่างแล้ว
 แต่อีกข้างยังไม่ได้เปลี่ยนแต่ก็เริ่มออกอาการแล้วดังรูปนี้ครับ


ทิ้งท้ายกับวีดีโอ....


วันอาทิตย์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปัดเงาล้อให้ syndy (sunny B11)

อุปกรณ์ในการใช้งานครั้งนี้
  1. สว่าน
  2. ก้อนขัด(ไขปลาวาฬ)
  3. ถุงมือ
  4. ใบปัด














สำหรับครั้งแรกใบปัดควรปัดกับสันเหล็กเพื่อทำให้ใบปัดมันฟูและนุ่มเพราะใหม่ๆ มันจะแข็งทำให้ปัดไม่ได้
ขั้นตอนลงมือ
ก่อนอื่นเราต้องทำความสะอาดล้อ(พื้นผิวที่เราจะทำการปัด)อย่าให้เปียกนะที่สำคัญ
จากนั้นก็นำสว่านที่เราใส่ใบปัดแล้ว ไปปัดกับก้อนขัด แล้วก็ปัดที่ล้อได้เลย

ภาพนี้มุมซ้ายล่างยังไม่ได้ปัด ส่วนขวาบนปัดแล้วครับ เห็นความแตกต่างกันได้ชัดเจน










และนี้ผลงาน 1 ใน 2 ล้อที่เสร็จแล้วครับ ปัดแบบไม่ต้องถอดยางครับ ยังไงก็ระวังหน่อย











ส่วน 2 ล้อหน้า ถอดไม่ออกครับ 555 เครื่องมือไม่พร้อมคราวก่อนไปทำเครื่องแร็คมา ช่างคงขันแน่นไปหน่อย(ปืนลมเค้าคงแรงดีไปหน่อย)
ภาพเต็มๆครับ ดูดีขึ้นครับ

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

เรื่องราวความรู้เกี่ยวกับยางรถยนต์

เรื่่่องราวความรู้มากมายเกี่ยวกับยางรถยนต์ ที่คุณๆควรรู้...สามารถดูรายละเอียดได้ใน Tire Knowledge
ยางสำหรับรถยนต์นั่งและรถกระบะ
รู้จักกับโครงสร้างและส่วนประกอบของยางรถยนต์
หน้าที่สำคัญ 4 ประการของยาง
ดอกยาง
ดอกยางกับร่องยางทำหน้าที่ต่างกัน
แก้มยาง ส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของยาง
ตัวเลขและสัญลักษณ์บนแก้มยาง
คุณรู้หรือไม่ จุดสีเหลืองและจุดสีแดงบนแก้มยางมีความหมายอย่างไร
การเปลี่ยนขนาดยาง
ดัชนีการรับน้ำหนัก
ปัจจัยที่มีผลต่อการสึกหรอของยาง
สัญลักษณ์แสดงขีดจำกัดความเร็ว
อายุการใช้งานของยาง
ยางสำหรับรถบรรทุกและรถโดยสาร
คุณสมบัติของยางเรเดียลเส้นลวด
ยางเรเดียลเส้นลวดกับยางผ้าใบธรรมดา แตกต่างกันอย่างไร
ยางเรเดียลเส้นลวดแบบใช้ยางในและ แบบไม่ใช้ยางใน แตกต่างกันอย่างไร
ยางหล่อดอกคืออะไร
วิธีการดูแลรักษายางสำหรับรถบรรทุก และรถโดยสาร

ที่มาจาก
http://www.bridgestone.co.th/th/tire_safety/tire_safty_knowledge.aspx