วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เตรียมตัวปรับปรุงระบบแอร์

แผงคอยร้อนจากคุณทม ชมภูแก้ว แนะนำยี่ห้อ ของ paco ขนาด 12x23 นิ้ว
ถังน้่ำยา ซื้อที่ อมรถัง 2 กก.พอ
หัวเกจ หัวเดียวพอ ประมาณ 180
ชุดสาย ประมาณ 200
เติมน้ำยาทั้งระบบ ประมาณ 6 ขีด
ถ้าเติมจากการพร่อง 2-3ขีด ไม่ควรเกินนี้ ถ้าเกินก่อนเติมแอร์จะไม่เย็นแล้ว


เพิ่มเติมวันที่ 58/8/31
วันเสาร์ที่ผ่านมาไปซื้อน้ำยาล้างคอยล์เย็นมา 50.- เลยถามเรื่องถังแก๊ส ถังละ100 เดียวเองและน้ำยา r12 ก็ถูกกว่าที่ถาม ๆ มาด้วย แค่280.-ต่อ กก. ล่าสุดเติมที300บาท




คอยเย็น  อัดไนโตรเจนประมาณ 150PSI แต่ช่วงการทำงาน ประมาณ 30-55 PSI
คอยร้อน  อัดไนโตรเจนประมาณ 300PSI แต่ช่วงการทำงาน ประมาณ 280 PSI


การต่อท่อแรงดันสูง ต้องต่อก่อนสตาร์ทรถ เพราะแรงดันน้อยกว่าตอนสตาร์รถ
การต่อท่อแรงดันต่ำ ต้องต่อหลังจากสตาร์รถแล้ว เพราะตอนก่อนสตาร์ทมันจะสูงกว่าหลังสตาร์ทรถไปแล้ว


ส่วนช่วยบานหัวท่อ ควรเลือกชุดแบบแบบหัวควง ไม่ใช่หัวกด เพราะการควงไปตามการหมุนจะค่อยๆบานไป ความเสียหายจากการกดลงไปจะน้อยกว่าแบบหัวกดบาน



"ความเก่งนั้นไม่ได้มีไว้โชว์....แต่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์แด่สังคมและตนเอง
เกียรตินิยมนั่น มันก็เป็นแค่เกรดวิชา......แต่ความดีต่างหากคือเกียรติยศของชีวิต"
ข้อความนี้ผมนึกถึงคุณ Bok Steak House เลย
ข้อความมาจาก ที่แห่งนี้ครับ
http://www.welovecivic.com/forum/index.php?topic=169234.245



ปริมาณการเติมน้ำมันคอม                               
เมื่อมีการเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ หรือชิ้นส่วนต่างๆ เช่น คอม  คอยร้อน คอยเย็น
3 ชิ้นเมื่อเปลี่ยน/ล้างต้องเพิ่มเติมตามสัดส่วนดังนี้
      คอยร้อน ประมาณ 40 CC
      คอยเย็น  40 CC
      คอม 40 CC
   สรุป เมื่อล้างระบบแอร์ทั้งหมดน้ำมันคอมอยู่ที่ ประมาณ 120-150 CC นะที่ผมเคยทำมา ไม่มีปัญหาคอมไม่ดัง ไม่น๊อค ที่สำคัญน้ำมันคอมต้อง


Hi 220-250
lo  30-35

วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558

เปลี่ยนยางแค่ 2 ล้อ เลือกไว้หน้าหรือหลังดี

การเปลี่ยนยางแค่ 2 ล้อ
คุณจะเลือกใส่คู่หน้า หรือ คู่หลัง

จากการทดสอบจาก michelin ทำให้ทราบได้ว่าคุณจะใช้ยางใหม่คู่หน้า แล้วคู่หลังเป็นยางเก่าการขับรถตอนเข้าโค้งจะเป็นอย่างไรกัน
ซึ่งทาง michelin ได้ทำการทดสอบไว้คือ
รถคันสีขาว  เปลี่ยนยางคู่ใหม่ โดยใส่ไว้ด้านหลัง
รถคันสีดำ    เปลี่ยนยางคู่ใหม่ โดยใส่ไว้ด้านหน้า

ผลการทดสอบคือ
รถคันสีขาว  ควบคุมรถตอนเข้าโค้งได้ปกติ
รถคันสีดำ    ควบคุมรถตอนเข้าโค้งไม่ได้ ท้ายปัดทำให้เสียการควบคุมรถไป

ซึ่งผลการทดสอบทำให้เข้าใจได้ว่าใส่ยางใหม่ใว้คู่หลังเพื่อการควบคุมรถที่ดีในตอนเข้าโค้งครับ
แต่ผมก็ไม่ทราบได้ว่าทำไมช่าง หรือร้าน หรือคนที่เรารู้จักมักให้ใส่ยางใหม่ไว้คู่หน้า อาจเป็นเพราะเรื่องการสึกหรอเพราะตอนออกตัวจากจะทำให้เกิดการบิดตัวของยางทำให้สึกไปมากกว่าล้อหลัง  จึงคิดว่ายางใหม่ต้องใส่คู่หน้าแทน เนื่องจากการสึกหรอที่เร็วกว่า  แต่ถ้ามองถึงความปลอดภัยก็ควรจะใส่คู่หลังครับหลังจากที่ได้ดูคลิปไป


วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

วัดแรงดูด

Vaccuum Gauge
เป็นเกจวัดสุญญากาศในท่อไอดี มีระโยชน์มากมาย
แว๊กกัมเกจ ใช้ตรวจสูญญากาศในท่อไอดี
จากการตรวจสูญญากาศทำให้เรารู้ว่า ตอนนี้ มีกำลังอัดรั่วในท่อร่วมไอดีหรือเปล่า
และ แว๊กกั๊มเกจสามารถนำมาตั้งองศาไฟจุดระเบิดให้เหมาะสมกะเครื่องยนต์ได้ด้วย

การติดตั้ง ต้องติดตั้งหลังลิ้นปีกผีเสือเท่านั้น ตำแหน่งที่ดีที่สุดคือ พ่วงกะ MAP Sensor เพราะเป็นจุดที่ วิศวกรได้ออกแบบมาว่า ตรงนี้ดีที่สุด
แต่หากการติดตั้ง ไม่สามารถทำได้ ก็ใช้รูอื่น ๆ ที่อยู่ในท่อร่วมไอดี
เรื่องการตั้งไฟโดยแว๊กกั๊มเกจผมต้องขออภัยจริง ๆ คับเพราะผมลืมค่าไปแล้วตอนเรียน ป.ตรี แกสอนอยู่ ครึ่งชมเอง จำได้อย่างเดียวเลยคับว่า ดูจนค่าของของแว๊กกั๊มนิ่งที่สุดคือ ไฟแก่ มันก็จะเดินไม่เรียบเข็มที่เกจมันก็จะสั่น ไฟอ่อนไป มันก็เดินไม่เรียบเช่นกัน มันก็จะเข็มที่เกจสั่นหาค่ากลางที่มันไม่สั่น และ แว๊กกั๊มต่ำที่สุด สำคัญ ก่อนจูนต้องถอดสายแว๊กกั๊มสำหรับเร่งไฟออกก่อนจูนที่เดินเบาเท่านั้น ไม่ต้องเร่งบรื้น ๆ แล้วจูน

และถ้าเป็นเครื่องหัวฉีดแค่ดูแลองศาการจุดระเบิดให้ดี เครื่องเขาตั้งให้ 10 ตามค่ามาตราฐานของน้ำมันเราก็ตั้งแค่ 10 ไม่ต้องขยับไป 13เพราะรถยนต์หัวฉีดทุกคันมีระบบ EIS อิเล็กทรอนิก สป๊าก แอดว้าน เพิ่มหรือลดองสาการจุดระเบิดโดย ตโนมัติ จับโดย น๊อกเซ็นเซอร์ หรือ เซ็นเซอร์จับการแขกของรถ เราตั้งไว้ที่ 10 ถ้าครื่องยนต์มันต้องการเพิ่มองศามันจัดการตัวเองได้

ทุกอย่างเราอ้างอิงจากแสตนดาทน้ำมันทั้งหมดครับ เราทำแก๊สเข้าหาน้ำมัน ไม่ได้ทำน้ำมันไปหาแก๊ส

วันพุธที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2558

โครงการเรื่องการควบคุมความร้อนของเครื่องยนต์

จากที่คิดๆ ไว้นานแล้วกว่าจะได้ลงมือทำก็นานมาก ก่อนหน้านี้ได้ทดสอบเอาหัวเซ็นเซอร์ไว้ในท่อน้ำไว้สักพัก ผลคือคงจะร้อนไปทำให้ส่งข้อมูลมาผิดๆ หรือสรุปได้ว่ามันพัง.....
ก็เลยหยุดที่จะใส่หัวเซ็นเซอร์ก่อน มาทำกล่องให้กับวงจรซะก่อน ตอนแรกก็คิดทำจากแผ่นอะคริลิคแต่มันไม่สำเร็จ เลยหันมาหาท่อPVC แทนและตัดและเจาะต่างๆ จนได้ดังรูป แบบที่คิดไว้ ก็ถูกดัดแปลงไปเลยๆ จากปัญหาที่เกิดขึ้น จนตอนนี้ออกมาในแบบนี้แต่ด้านข้างเป็นช่องอยู่ยังไม่ได้หาอะไรมาปิด และก็เจอปัญหาไม่รู้จะไว้ตรงไหนดี (ปัญหานี้เรื่องใหญ่มากสำหรับผม) เพราะถ้าไปอยู่ทางซ้ายกลัวเด็กๆ จะไปกดเล่น อยากจะไว้คอนโซนกลาง แต่ก็ไม่มีคอนโซนกลาง 5555
งั้นทำกล่องให้เสร็จก่อนจะดีกว่าครับ และนี้เป็นรูปเบื้องต้นก่อนครับ 

ส่วนเซ้นเซอร์ตอนนี้ปรับปรุงใหม่โดยจากเดิมไม่ได้ทำอะไรก็สอดเข้าไปที่ท่อน้ำ แต่คราวนี้เอาเทอร์โมสวิทซ์ ของหม้อน้ำที่ไม่ได้ใช่เจาะและเอาหัวสอดเข้าไปอุดด้วยอีพ๊อกซี่ กะว่าจะใส่ตรงเซ็นเซอร์วัดความร้อนเดิม เพราะหน้าปัดที่แสดงค่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่เนื่องจากมันแสดงค่าที่ไม่ตรงไปแล้วจากการฮีทไปครั้งก่อน