วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

วิธีปรับจูนแก๊ส

21/09/58

  1. พยายามปรับไอเดิลให้รถสามารเดินเบาได้โดยไม่ดับ แล้วทำการจูนพีคโดยเร่งเครื่องค้างไว้แล้วปรับพาวเวอร์วาวล์ เข้าออก จนได้รอบที่แรงที่สุดก่อน
  2. จากนั้น ก็เข้าไปนั่งในรถปล่อยเครื่องเดินเบา แล้วลองเหยียบเบรคแล้วปล่อยติดๆกัน3-4ครั้ง ถ้ารอบเร่งขึ้นให้ลดไอเดิลลง ถ้ารอบตกลงให้เพิ่มไอเดิล ทำจนกว่ารอบจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็พอ
  3. ลองเปิดแอร์ดูว่ารอบคงที่หรือไม่ถ้าเร่งขึ้นนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าตกลงลองเหยียบเบรคตามข้อ4ถ้ารอบยังตกลงให้เพิ่มเซนต์จนกว่ารอบจะเพิ่มขึ้นมา.
  4. ลองปิดแอร์ถ้ารอบดีดขึ้นแล้วลง หรือคงที่ถือว่าผ่าน ถ้ารอบตกให้ทำข้อ4อีกครั้ง ทำวนข้อ4-ข้อ6จนเครื่องนิ่ง
  5. เร่งเครื่องซัก3-พันรอบ แล้วเหยียบเบรครั่วๆถ้ารอบเร่งขึ้นอีกให้ลดพาวเวอร์วาวลงที่ละนิด จนกว่ารอบจะคงที่หรือตกเล็กน้อยเป็นอันจบจูนพีค
  6. ลองเปิดโหลดทุกอย่างดูว่ารอบเครื่องตกมากไหมถ้านิดหน่อยถือว่าผ่าน
ที่มาhttp://www.gasthai.com/boardgas/question.asp?id=41640




08/05/58

จากที่หาและเก็บข้อมูลมานั้นก็ยังไม่เข้าใจดีที่คุณพุท ที่แนะนำเพิ่มเติมในการปรับจูนแก๊ส แต่ผมก็เอามาปรับตามในแบบของผมครับเพราะมีบางอย่างไม่เหมือนกัน(คุณพุทไม่ว่ากันนะครับ)
        เริ่มกันที่เราใช้รถปกติก่อนแล้วกันนะครับสมมุติว่าตอนนี้มันปกติ หรือไม่ปกติก็ตาม
ของที่จำเป็น(สำหรับผมคือ วัดรอบ) และอะไรก็ได้ที่ค้ำคันแร่งได้ที่ประมาณ 3,000 รอบ
ส่วนอื่นๆ ก็เป็นพวกไขควงครับ
        ตอนนี้ก็เริ่มปรับกันครับ (ในการปรับจูนปิดระบบไฟทุกอย่างร่วมทั้งแอร์ด้วย)คือ
  1. ติดเครื่องให้ร้อนจนพัดลมหม้อน้ำทำงาน
  2. ค่อยๆ ปิดสกรูเดินเบา (IDLE) หมุนตามเข็มนาฬิกา หมุนไปหน่อย ก็ต้องมาหมุนสกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE)โดยคลายออก ทวนเข็มนาฬิกา จนปิดสกรูเดินเบา (IDLE)จนสุด
  3. ปรับรอบเดินเบาให้ได้รอบตามที่เราใช้งานปกติ คือ 750 รอบ แต่ผมตั้งที่ 850 รอบครับ
  4. จูนพีค โดยหมุนวาวล์กลางสาย (POWER VALVE)ออก คือหมุนทวนเข็มนาฬิกา ไปๆๆๆๆๆ จนรอบขึ้นสูงและไม่ขยับขึ้นไปอีก และค่อยๆ หมุนกลับลงมาในตำแหน่งตอนที่เข็มมันจะตกลงจากที่มันหยุดนิ่งไว้เมื่อกี๊
  5. หลายๆ บทความก็บอกว่าให้ปรับเพิ่ม ถ้าต้องการแรง แต่ถ้าต้องการประหยัดก็ปรับลดลง ในตำแหน่งจากจุดพีค แต่ผมไม่ครับให้มันอยู่ในตำแหน่งจุดพีคครับ
  6. กลับมาตั้งรอบเดินเบากันอีกครับโดยคลาย สกรูเดินเบา (IDLE) ออกมา ครึ่งรอบ
  7. หมุนสกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE) ให้ได้รอบเดินเบาตามที่เราต้องการ
  8. ทดลองเปิดแอร์ และปรับตัวชดเชยรอบแอร์ให้เท่ากับรอบเดินเบา
  9. ทดสอบการใช้งานจริง ถ้าตอนแอร์เปิด หรือระบบไฟทำงานแล้วรอบตก ให้ปรับที่สกรูเดินเบา (IDLE) ออกที่ละ 1/4 รอบ ซึ่งจะทำให้รอบเดินเบาสูงขึ้น เราก็ต้องปรับลดรอบเดินเบาที่สกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE) โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา ให้ได้รอบเดินเบาตามที่ต้องการ
  10. จบ

ที่มาจาก http://bullbuck.co.th

การจูนแก๊สระบบดูด (MIXER)

 

วิธีการจูนแบบที่ 1   
การจูนแก๊สระบบมิ๊กเซอร์ (MIXER) หรือเรียกอีกชื่อว่าการจูนแก๊สระบบดูด
มารู้จักอุปกณ์ ที่จะทำการจูนด้วยวาวล์ หรือลิ้นปิดเปิด 3 ตัว คือ
1.  สกรูเดินเบา (IDLE)
2.  สกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE)
3.  วาวล์กลางสาย หรือ พาวเวอร์วาวล์ (POWER VALVE)
หน้าที่ของอุปกรณ์   
1.  สกรูเดินเบา  ทำหน้าที่จ่ายก๊าซขณะเครื่องยนต์ไม่มี LOAD หรือเดินเบา (คือไม่มี LOAD ในการขับเคลื่อน)  การคาย
สกรูเดินเบาออกมามาก ก๊าซก็จ่ายมากให้รอบสูง การจ่ายก๊าซตรงจุดของสกรูเดินเบามาจากแรงดันในถังก๊าซหมุน
เปิดปิดเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น
2.  ตัวเซนซิทีฟ (SENSITIVE) ทำหน้าที่จ่ายก๊าซตามภาระ LOAD ต่างๆ ของเครื่องยนต์ โดยอาศัยความดันอากาศภายใน
ท่อไอดี  เช่น รถจอดอยู่เปิดแอร์ เครื่องยนต์รับ LOAD ความดันอากาศในท่อไอดีสูงขึ้นจากการเปิดแอร์  Sensitive จะ
จ่ายแก๊สตามแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี  การจ่ายแก๊สของ SENSITIVE จ่ายตามรอบการ LOAD ของเครื่องยนต์ ใน
ขณะที่สกรูเดินเบายังคงทำการจ่ายแก๊สอยู่ตามปกติ คือจ่ายแก๊สปริมาณคงที่   ถ้าหากสปริงที่  SENSITIVE อ่อน จะ
ทำให้การจ่ายก๊าซจะออกมามาก สิ้นเปลืองก๊าซมากเกินความจำเป็น     ดังนั้นการจ่ายก๊าซตรงจุด SENSITVIE เกิดจาก
แรงดูดของเครื่องยนต์ เยียบคันเร่งมากแรงดูดก็มากตาม ก๊าซก็จ่ายมากตามแรงดูด
3.  MIXER คือตัวผสมอากาศเข้ากับเชื้อเพลิง MIXER มีลักษณะเป็นคอขอดที่มีขนาดรูคงที่  หากรถใช้ความเร็วสูง แต่
คอขอดที่ MIXER มีขนาดรูเล็ก  รูเล็กนี้จะขวางทางอากาศขณะที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้มีอากาศน้อยลงทำให้ส่วนผสม
ไม่พอไปใช้งาน
4.  วาวล์จ่ายก๊าซหลัก เรียกวาวล์กลางสาย หรือเรียกพาวเวอร์วาวล์  มีหน้าที่ควบคุมปริมาณของก๊าซที่ไหลเข้าเครื่อง
ผสมก๊าซ (MIXER)  การหมุนเข้า-ออก พาวเวอร์วาวล์สามารถกำหนดแรงดูดที่ไปทำให้หม้อต้มจ่ายแก๊สมาก หรือน้อยได้
การใช้งานพาวเวอร์วาวล์ เมื่อจูนเสร็จเรียบร้อยแล้ว พาวเวอร์วาวล์จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการ
ไหลของก๊าซจากหม้อต้ม จากการเพิ่มรอบหรือลดรอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่อุปกรณ์เดินเบา (IDLE) ก็เช่นกันเป็น
อุปกรณ์ที่ให้การไหลของก๊าซคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรอบของเครื่องยนต์
ส่วนตัว SENSITIVE จะเปลี่ยนตามแรงดูด เพราะตัว SENSITIVE เป็นสปริง จ่ายแก๊สออกมากหรือน้อยตามแรงดูดของ
เครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นจะต้องหาตำแหน่งที่เหมาะสมของ SENSITIVE โดยการเปิดพาวเวอร์วาวล์ให้กว้างก่อนเพื่อให้
แก๊สสามารถไหลเข้า MIXER ได้สะดวก (ตามข้อ 3 วิธีการจูนระบบดูด)

การทำงานของรอบเครื่องยนต์ หลักๆ มี 2 สถานะ คือ การทำงานที่อยู่ในรอบเดินเบา คือสตาร์ทรถขณะที่รถจอดเครื่องยนต์
ทำงาน จะมีภาระโหลดหรือไม่มีก็ได้ การมีภาระโหลด เช่น การเปิดแอร์, การเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วิทยุ, ไฟหน้ารถ อื่นๆ
และสถานะที่สอง คือการทำงานของเครื่องยนต์ในรอบเร่ง คือการกดคันเร่งให้รถวิ่งไปได้ วิ่งช้าวิ่งเร็ว ก็อยู่ในสถานะรอบเร่ง
เพราะฉะนั้นรอบเร่งก็มีรอบเร่งที่ 1500 รอบ, 2000 รอบ, 2500 รอบ, 3000 รอบ, 3500 รอบ, 4000 รอบ หรือ 4,500 รอบ
ตามขนาดของเครื่องยนต์ หรือสเปคการเร่งรอบเปลี่ยนเกียร์ของเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อ
เป้าหมายของการจูนแก๊ส   คือจูนเพื่อให้แก๊สสิ้นเปลืองน้อยสุดได้กำลังมากที่สุด ทำให้อัตราส่วนเหมาะสมกับกำลังที่ทำได้
การปรับจูนต้องใช้ 2 คน คนหนึ่งเยีบบคันเร่ง (ระวังให้เกียร์รถอยู่ตำแหน่ง เกียร์ว่าง) อีกคนคอยปรับจูนที่วาวล์
การจูนขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา จัดให้เครื่องยนต์ต้องไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้า
วิธีการจูนระบบดูด (MIXER) ขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา รถยนต์ทำงานอยู่กับที่
1)  ก่อนทำการจูนทุกครั้ง ต้องอุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงานก่อน  ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน หรือเข็มอุณหภูมิอยู่ใน
ตำแหน่งทำงานปกติ
2)  ดับเครื่องยนต์
3)  เปิดวาวล์กลางสายให้กว้างไว้ก่อน โดยการหมุนวาวล์กลางสายออกประมา 3 รอบ หมุนให้ก๊าซออกมาก่อน
(การ BACK FIRE เกิดจากส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงบางมาก จนทำให้เกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองได้ คือ
ไอดี สามารถสันดาปและจุดระเบิดด้วยตัวเองได้  วิธีการปรับก๊าซคือจูนให้ส่วนผสมไอดีหนาไว้ก่อน และค่อยปรับ
เบาลงมา)
4)  หมุนสกรู SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา จนสุด สริงจะไปกดไดอะแฟลม ไดอะแฟลมจะไม่เปิด
5)  หมุนสกรู เดินเบาคลายออก ~ 1/4 รอบ
6)  จากนั้นทำการสตาร์ทเครื่องยนต์โดยการใช้ก๊าซ ถ้าไม่ติดให้คลายสกรูเดินเบา ออกมาอีก 1/4 รอบ  แล้วทำการสตาร์ท
อีกครั้ง ถ้าไม่ติดก็คลายออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสตาร์ทติดโดยคลายออกทีละ 1/4 รอบ
7)  เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดเรียบร้อย และอยู่ในรอบเดินเบา (รอบเดินเบาตามปกติ ~800 + / – 50 รอบ / นาที
ขณะนี้ SENSITIVE ไม่ได้จ่ายก๊าซออกมา เพราะว่าหมุนปิด SENSITIVE อยู่ ปิดสุดไปตามข้อ 4)  ทำให้การใช้เชื้อเพลิง
ก๊าซขณะนี้ได้รอบเดินเบาเท่ากับการใช้ระบบเชื้อเพลิงน้ำมัน
8)  หมุนสกรูเดินเบาเข้า จนรอบเครื่องยนต์ตกประมาณ 600 รอบ (เครื่องยนต์สั่น)
9)  คลายสกรู SENSITIVE ออกจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์อยู๋ในรอบเดินเบาปกติประมาณ 800 + / – 50 รอบ
(คลาย SENSITIVE สปริงจะคายออก)
10)  จากนี้เร่งเครื่องที่ 3,000 – 4,000 รอบ / นาที  ให้นิ่งที่สุด (คือเยีบบเท้านิ่งไว้ แช่ไว้ที่รอบ 3,000, 3,500, หรือ 4,000
รอบ / นาที อย่างใดอย่างหนึ่ง ปกติจะให้เท้านิ่งอยู่ที่ 3,000 รอบ / นาที จุดนี้จะเป็นการหาจุด PEAK ของการ
จูนแก๊สระบบดูด   (การหาจุด PEAK คือหาจุดสูงสุด ที่สามารถใช้ก๊าซได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป
โดยการเร่งรอบเครื่องให้นิ่งที่สุดที่ 3,000 – 4,000 รอบ / นาที ขึ้นอยู่กำลังสเปคของเครื่องยนต์ว่าให้กำลังดีที่สุดที่
รอบเท่าไหร่     และขณะที่เท้าเยียบคันเร่งอยู่กับที่ที่ 3,000 รอบแล้ว ขณะจูน PEAK รอบเครื่องยนต์อาจขยับไปมา
แต่เท้าต้องนิ่งอยู่กับที่  และเราอาจเห็นรอบเครื่องยนต์ตก หรือ เพิ่มขึ้น ไม่ต้องสนใจ ต้องคงเท้าไว้ที่เดิมที่ครั้งแรก
เยียบเร่งรอบถึงจุด 3,000 รอบ / นาที่ ให้นิ่ง แล้วจึงปรับจูน และขณะปรับจูนเท้าต้องนิ่งอยู่กับที่เดิม)
11)  หมุนวาวล์พาวเวอร์วาวล์ หรือเรียกวาวล์กลางสาย ตามเข็มนาฬิกา ให้รอบตก เมื่อรอบตกแสดงว่าแก๊สจ่ายไม่พอ
และหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกา รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นให้หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวน
เข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่ง ถึงจะหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกา
เพิ่มขึ้น รอบก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป นั่นหมายถึงปริมาณแก๊สมีมากเกินความต้องการของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์
จะเริ่มสั่นจนเกือบดับ แต่ต้องไม่หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกาจนเครื่องยนต์ดับ
จากตรงนี้ให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับมา ตามเข็มนาฬิกา หมุนกลับไปหารอบสูงสุดก่อนที่เสียงรอบเครื่องยนต์จะเริ่ม
ตก จุดที่เสียงเครื่องยนต์คำรามสูงสุดนั่นคือจุดพีค (PEAK)
12)  ดังนั้นทบทวนการหาจุด PEAK โดยหมุนวาวล์กลางสายเข้าๆ ออกๆ หาจุดที่รอบเครื่องยนต์เร่งมากที่สุด
คือเร่งสูงสุด โดยการคลายวาวล์กลางสายออกคลายออกจนกระทั่งเครื่องยนต์เกือบจะดับ เครื่องสั่น เมื่อหาจุดเร่ง
สูงสุดได้แล้ว ก็ให้หาจุดเดินเบาต่ำสุดโดยขันพาวเวอร์วาวล์เข้าตามเข็มนาฬิกา โดยให้รอบเครื่องยนต์เบาลงต่ำสุด
จนรอบตกและเครื่องยนต์สั่น  จากนั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกากลับมาหาจุดที่รอบเร่งเครื่องยนต์ที่สูงสุด ก่อนที่รอบสูง
สุดนั้นจะตกลงในขณะที่เยีบบคันเร่งที่ 3,000 รอบ หรือถ้ายังไม่แน่ใจให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับไปมาจนได้ยิน
เสียงคำรามของเครื่องยนต์ เสียง ‘วืด’ ที่รอบสูงสุด จุดนี้คือจุด PEAK (ถ้าไม่หาจุดที่เดินเบาต่ำสุดเปรียบเทียบก็จะ
ไม่ทราบแน่ชัดว่าจุดใดแน่ที่จะเป็นจุด PEAK การเร่งรอบจนเลยจุดสูงสุด กับเร่งหารอบจนเกือบต่ำสุด จะทำให้
ได้ยินเสียงจุด PEAK ได้ชัดเจนกว่า)

การจูนโดยการทดสอบวิ่งบนถนน
13)  ทดลองวิ่งรถโดยใช้เชื้อเพลิงแก๊ส
14)  ถ้าอยากให้ได้กำลังทุกรอบการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้คลายวาวล์กลางสายออกมาอีก 1 / 4 รอบ จากที่ได้ทำ
การปรับจูนในข้อ 12 แล้ว คือหลังจากที่ได้ตำแหน่งจุดพีคของรอบเครื่องยนต์แล้ว  (ถ้าคิดว่าได้รอบและกำลัง
เครื่องยนต์แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องคลายออก แต่การคงระดับปริมาณแก๊สไว้ตามข้อ 12  ขณะที่รถวิ่งอาจจะไม่พอ
เหมาะเพราะข้อ 12 เป็นการหาจุด PEAK ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่กับที่ เมื่อวิ่งรอบสูงจริงก๊าซ อาจจ่ายไม่พอ
หากไม่คลายวาวล์กลางสายออก 1/4 รอบ ก่อนการทดลองวิ่ง  และถ้าหากเน้นประหยัด วิ่งไม่เร็วมากเท่าไหร ก็ให้
หมุนวาวล์กลางสายทิศทางตามเข็มนาฬิกา 1/4 รอบ จากจุด PEAK คือเป็นการลดปริมาณจ่ายแก๊สลง
ลักษณะของอุปกรณ์
1)  วาวล์กลางสายมีขนาดมาตรฐาน, ท่อ MIXER มีขนาด 22 มม. ขึ้นไป ถึง 38 มม. จุดที่วัดคือคอขอดด้านใน
มาตรฐานที่ใช้ทั่วไปสำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบ ~24 – 28 มม. ถ้าเป็นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ CC มาก MIXER ก็จะ
ใหญ่ขึ้นตามไป
2)  MIXER บางแบบครอบตรงเรือนลิ้นเร่ง  บางแบบติดอยู่ที่ท่อกรองอากาศ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
3)  ถ้า PRESSURE สูง 2-3 BAR ไม่ดีกับรอบต่ำเพราะก๊าซจะไหลได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการดูดของเครื่องยนต์ ก๊าซ
จะไหลเองโดยไม่จำเป็น
4)  เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบคาร์บูเรเตอร์ จะใช้งานก๊าซเป็นระบบดูด (MIXER)
5)  เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบ AIRFLOW SENSOR ควรใช้งานกับระบบหัวฉีด  AIR  FLOW  METER จะเป็น
ตัววัดปริมาณอากาศ เมื่อทำงานรอบเดินเบาอากาศเข้าน้อย อาจทำให้ไอดีบาง อาจเป็นอันตรายขณะจูนหากใช้ MIXER
6)  การเปลี่ยนหัวเทียนใหม่, การเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ ต้องมีการปรับจูนการจ่ายก๊าซใหม่  ระยะการเปลี่ยนหัวเทียน
ให้เปลี่ยนทุก 20,000 กม.  และการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ควรตรวจเช็ค เป่า หรือเปลี่ยนทุก 10,000 กม.  กรอง
อากาศในระบบดูดจะดำเร็ว
7)  ถ้ากรองอากาศตัน  อากาศเข้าน้อย เครื่องยนต์จะดูดก๊าซเข้าไปมาก  ก๊าซที่วิ่งได้ 10.0 กม. / ลิตร ความสิ้นเปลือง
จะมากกว่าน้ำมัน ซึ่งเชื้อเพลิงน้ำจะอยู่ประมาณ 12 กม. / ลิตร
การจูนก๊าซระบบดูดวิธีที่ 2  ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานการจูนคล้ายกัน
1.  อุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงาน
2.  ดับเครื่องยนต์
3.  หมุนวาวล์กลางสายออกประมาณ 3 รอบ (จ่ายก๊าซออกมา)
4.  หมุนสกรูเดินเบา หมุนเข้าจนสุด (ปิดเลย)
5.  หมุนสกรู SENSITIVE ออกมา ~ 3 – 4 รอบ
6.  สตาร์ทเครื่องยนต์ ปรับรอบเดินเบาให้ได้ตาม SPEC ของเครื่องยนต์ เช่น 800 + / – 50 รอบ / นาที ขณะนี้แสดงว่า
SENSITIVE จ่ายแก๊สออกมาเพียงตัวเดียว และสปริง SENSITIVE อยู่ในจังหวะอ่อนอยู่
7.  หมุนสกรู SENSITIVE เข้าให้รอบเครื่องยนต์เดินเบา อยู่ที่ประมาณ 600 รอบ / นาที
8.  คลายสกรูเดินเบาออกจนกว่ารอบเดินเบาจะเดินปกติที่ 800 + / – 50 รอบ / นาที
9.  หาจุด PEAK เหมือนวิธีที่ 1 เร่งรอบเครื่องยนต์หมุนวาวล์กลางสาย เข้าๆ – ออกๆ หาจุด PEAK และดูอัตราการ
กินก๊าซ โดยปกติการใช้เชื้อเพลิงก๊าซของเครื่องยนต์ ปกติ ~ 8 -  9 / ลิตร
ความแตกต่างของการจูนอยู่ที่การตั้งค่าสกรู SENSITIVE และสกรูรอบเดินเบา
หลังจากนั้นถ้าหากต้องการจูนแบบละเอียด ให้ปรับ SENSITIVE วาวล์ และ IDLE วาวล์ แบบละเอียดดังต่อไปนี้
วิธีการปรับ SENSITIVE วาวล์แบบละเอียด
1.  เปิด SENSITIVE  วาวล์ ออกมามากหน่อย โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้เครื่องยนต์จ่ายแก๊สได้พอ
2.  ปิด IDLE วาวล์  วิธีการปิด IDLE วาวล์ค่อยๆ ปิด โดยการปรับไปพร้อมๆ กับ SENSITIVE วาวล์ เพื่อเลี้ยงไม่ให้
เครื่องยนต์ดับ จนกว่าจะสามารถปิด IDLE วาวล์ได้หมด
3.  เมื่อเปิด  SENSITIVE วาวล์ตามข้อ 1. มาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะนิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งการจ่ายแก๊สจะ
หนาขึ้น หนาขึ้นจนเกินความต้องการของเครื่องยนต์ คือแก๊สเริ่มท่วม เครื่องยนต์ทำท่าจะดับ ให้รีบหมุน
SENSITIVE กลับเข็มตามนาฬิกา เพื่อเลี้ยงไม่ให้เครื่องยนต์ดับ
4.  หมุน SENSITIVE วาวล์ กลับตามเข็มนาฬิกาจนถึงจุดที่เครื่องยนต์เดินได้นิ่ง และให้ดูและจดจำรอบเครื่องยนต์
ไว้ หรืออาจใช้ความรู้สึก ตรงจุดที่หมุน SENSITIVE กลับตามเข็มนาฬิกาแล้วเครื่องยนต์นิ่ง   ตรงจุดนี้ถือว่า
สามารถหาตำแหน่งของ SENSITIVE วาวล์ได้แล้ว จากนั้น
5.  ให้หมุนปิด SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา เรื่อยมาจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลงสัก 200-300 รอบ / นาที
นับจากจุดที่รอบเครื่องยนต์นิ่ง หรือหมุน SENSTIVE วาวล์ตามเข็มนาฬิกาจนรอบเครื่องยนต์เริ่มสั่น
หลังจากการหมุนปิด SENSITIVE จนรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลง 200-300 รอบ / นาที การจ่ายแก๊สขณะนี้ลดลง
ขั้นตอนต่อไปคือปรับ IDLE วาวล์เพื่อให้จ่ายแก๊สเข้ามาเสริม ขณะที่รอบเครื่องยนต์ต่ำลง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถ
ทำงานได้ในรอบต่ำ
วิธีจูน IDLE วาวล์แบบเหมาะสม  
1.  คลาย IDLE วาวล์ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ออกมาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น  คือแก๊สจ่าย
เข้า MIXER เพิ่มมากขึ้น  ดังนั้นให้คลาย IDLE วาวล์ไปเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์ก็จะเพิ่มชึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงจุด
ที่รอบเครื่องยนต์ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก  และคลาย IDLE วาวล์ต่อไปอีกเพื่อหาจุดที่แก๊สจ่ายหนาเกิน จน
รอบเครื่องยนต์จะตกอย่างไว เพราะการจ่ายแก๊สหนา ให้จำตำแหน่งที่รอบเครื่องยนต์เริ่มจะตกไว้
2.  ลด IDLE วาวล์ โดยการหมุนตามเข็มนาฬิกา ลดจนรอบเครื่องยนต์เริ่มตก และให้จำตำแหน่งนั้นไว้
3.  เมื่อได้ตำแหน่งของการเปิด และปิด IDLE วาวล์ ตรงจุดที่กำลังของเครื่องยนต์กำลังจะตกทั้งสองจุด ก็มา
ปรับให้ IDLE วาวล์อยู่ในตำแหน่งระหว่าง 2 จุดนี้และรอบเครื่องยนต์ยังนิ่งอยู่ ทั้งที่เปิดแอร์ และปิดแอร์ หรือ
ทั้งมีหรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้าของรถยนต์
ปกติแล้วตำแหน่งที่เครื่องยนต์นิ่งตรงจุดที่ IDLE วาวล์ เปิดแอร์ กับปิดแอร์ หรือเปิดภาระทางไฟฟ้า กับปิดภาระ
ทางไฟฟ้า จะอยู่คนละตำแหน่งกัน  ดังนั้นจึงให้ปรับ IDLE วาวล์ไว้ที่ตำแหน่งกลางระหว่าง 2 จุดตามข้อ 3 ก็
ใช้ได้แล้ว
เป้าหมายการจูนคือให้เครื่องยนต์นิ่งเมื่อมีภาระโหลดทางไฟฟ้า หรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้า และเครื่องสามารถ
ทำงานได้ทั้งในสภาวะรอบเดินเบา และรอบเร่ง โดยมีอัตราส่วนผสมไอดีที่พอเหมาะ
จบการจูนแก๊สระบบดูดเท่านี้ ทุกท่านสามารถทดสอบได้ด้วยตนเองตามขั้นตอน และตามสภาพของเครื่องยนต์ของ
ท่าน การปรับจูนอาจไม่จำเป็นต้องครบทุกขั้นตอน ถ้าหากสามารถปรับจูนได้ตามเป้าหมายแล้ว หรือมีความชำนาญ
แล้วก็อาจเลือกการปรับจูนวิธีที่ 2 เลยก็ได้ แล้วแต่ความถนัด