วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2558

น้ำยาหล่อเย็น


ข้อความที่คัดมา กดที่ข้อความเพื่อไปยังที่มาครับ
"พิษ จาก Ethylene glycol ที่ผสมอยู่ใน น้ำยาหล่อเย็น
สำหรับผู้ที่ต้องการดูดออก ด้วยตัวเอง

วิธีแรก :
ใช้วิธีลักน้ำ จาำกสายยาง แต่ไม่ใช่วิฺฺธี ปลายหนึ่งจุ่มน้ำ ปลายหนึ่ง ใช้ปากดูด

ให้ใช้วิธี กรอกน้ำในสายยางให้เต็ม มือ อุดสายยางสองข้างไว้ 
หลังจากนั้น ให้นำปลายนึงจุ่ำมน้ำในหม้อพัก และ ปล่อยอีกปลาย ลง พาชนะที่รองรับที่อยู่ำ้ำต่ำกว่าถังสำรอง อย่างรวดเร็ว 

หรือ ใช้วิธี ปลายนึ่ง จุ่มน้ำในหม้อพัก ปลายนึง ต่อก๊อกน้ำ แล้วเปิดน้ำให้น้ำเข้าสายยางให้เต็ม ซึ่งอาจมีน้ำเข้าหม้อพักบ้าง
พอน้ำเต็มสายยาง ให้ปิดน้ำก๊อก ปลดสายยาง ออกจากปลายก๊อก ปล่อยลงสู่ พาชนะรองรับ

วิธีที่สอง :
ไปซื้อ สลิ๊ง(หลอดฉีดยา) เบอร์ใหญ่ๆหน่อย ไม่ต้องเอาเข็ม หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป
หาสายยาง หรือ สายอ๊อกซิเจนตู้ปลา ขนาด พอที่จะใส่ หัวสลิ๊งได้พอดี แล้วตัดให้ได้ความยาวพอเหมาะ

ค่อยๆ ใช้สลิ๊งดูดออกมา ที่ละหน่อย

แต่ ขอร้อง แนะนำ เตือน ห้าม ว่า อย่า พยายาม สัมผัส หรือ ดูด น้ำยาหล่อเย็นเด็ดขาด"

การเพิ่มจุดเดือดและจุดเยือกแข็ง
อ่านต่อได้ที่นี่

ค่า PH
"คุณ kk การล้างด้วยน้ำยาล้างหม้อน้ำ ก็เป็นการเอากรดไปกัดตะกรัน 
แต่ต้องล้างออกให้ดีก่อนใส่น้ำนารักษาหม้อน้ำ 
น้ำยารักษาหม้อน้ำเป็นด่าง เมื่อไปเจอกับกรด ของน้ำยาล้างหม้อน้ำ 
คราวนี้ก็เกิดเป็นไอกรดสีเหลื่องให้เห็นหลังจากใส่ไป 2-3 วันลองเปิดฝาหม้อน้ำดู 

การใส่น้ำยารักษาหม้อน้ำเป็นการปรับสภาพ PH ให้น้ำมีค่า ประมาณ 11 กว่านิดๆ 
เป็นจุดที่เหล็กไม่เป็นสนิม และปรับสภาพของ HARDNESSให้เปลี่ยนรูปไปไม่ทำให้เกิดตะกรัน (เป็นการปรับสภาพน้ำในหม้อไอน้ำ) 

ผมใช้วิธีนี้ ใส่น้ำกลั่นหรือน้ำดื่ม RO (TDS และHARDNESS ไม่มี) ใส่น้ำยารักษาหม้อน้ำ 2 ขวด สลับใส่จนเต็มหม้อน้ำ (เปลี่ยนเอง เพราะที่ศูนย์ใช้น้ำอะไร) 
แล้วแค่น้ำขาดหรือเปล่าเท่านั้น ถ้าขาดก็เติมกลั่นหรือน้ำดื่ม RO ใช้มา 2-3 ปียังไม่เปลียน ไม่มีเรื่องความร้อนเครื่องหรือตะกรันในหม้อน้ำมากวนใจเลย"

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

เปลี่ยนท่อไอเสีย













จากที่พักปลายมันแตกมานาน ตอนนี้เปลี่ยนใหม่ใช้ของสวิฟ เหมือนจะทำให้ประหยัดขึ้นจากเดิมที่ใช้แบบแตกๆ เดี๋ยวรอใช้แก๊สอีก2 ถังแล้วจะรายงานให้ทราบครับ

วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

น้ำยาหม้อน้ำ สำคัญจริงหรือไม่ ไม่ต้องใส่ได้เปล่า?????

ณ 581203
ผมอ่านๆ และอ่านๆๆๆๆๆ จากการหาข้อมูล ก่อนหน้าที่นี้ทำให้เข้าใจว่า ใช้แค่น้ำเปล่าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาหล่อเย็นผสมหรอก ให้ดีใช้แค่น้ำกลั่น เพราะไม่ต้องการให้เป็นตะกอน ตะกัง หินปูน เกาะหรือไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ร่วมทั้งหม้อน้ำเท่านั้น แต่ ณ วันนี่ผมไม่มีความคิดแบบนั้นแล้ว เนื่องจากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้คิดและวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมมานั้น ส่งผลให้หักล้างความคิดเดิมไปเลย
เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่าถ้าเราใช้น้ำเปล่า หรือน้ำกลั่นก็ตามมันเพิ่มจุดเดือนได้จากการมีการควบควมแรงดันเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ไม่สามารถช่วยปกป้องชิ้นส่วนต่างๆ ได้เลย
แต่หากเราใส่น้ำยาหล่อเย็นที่มีคุณภาพ ก็จะช่วยปกป้องชิ้นส่วนต่างได้ ยกตัวอย่างดังนี้

  1. การหล่อลื่นปั้มน้ำ
  2. การลดการกัดกร่อนอลูมิเนียม เช่นคอไอดีซึ่งจะมีน้ำไปหล่อเลี้ยงครับ เสื้อสูบ ร่วมทั้งหม้อน้ำในจุดที่เชื่อมด้วยตะกั่วตามตะเข็บซึ่งมักจะรั่ว
  3. เพิ่มจุดเดือนของน้ำ และการเพิ่มจุดเดือนของน้ำเพื่อมิให้น้ำในหม้อน้ำขยายตัวและไหลของไปยังหม้อพักจนล้น หรือไม่ก็ทำ
ซึ่งที่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ ใช้น้ำถึง4ลิตรเลย


วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

เปิดฝากระโปรงท้ายด้วยไฟฟ้า

มาทำที่เปิดฝากระโปรงท้ายกัน

ภาพที่มีอยู่ไม่มีขั้นตอนของการต่อสายไฟ แต่ไม่ยากอะไรนะครับ
ลองเอาสายต่อดู เลือกแบบว่าให้มันดึงเข้าหาตัว ถ้าไม่ใช่ก็ลองสลับขั่วสายดู 
และจำเอาไว้ว่าสีที่ต้องการที่ต้องต่อ + คือสี? สีที่ต้องต่อ - คือสีอะไร 
ที่เหลือก็ลากไฟจากแบตมาแล้วผ่านสวิทแบบกดติดปล่อยดับ
ในจุดที่ต้องการ และผ่านไปยังตัวปืน ส่วนสายอีกเส้นก็ให้ลงตัวถังรถ เพียงเท่านี้ครับ ไม่ยากเกินไปครับ 
เพราะที่ผมลากไฟมาจากแบตเลยเนื่องจากถ้าไม่บิดกุญแจไปที่ON หรือสตาร์ทเครื่องอยู่ ก็ยังสามารถเปิดฝากระโปรงหลังได้
แต่ถ้าไม่อยากให้เสียเวลาก็วางแผนกันหน่อยครับว่าจะทำอะไรก่อนหลัง สิ่งเหล่านี้เรียนรู้ได้จากการลงมือทำครับ ผมใช้เวลาพอสมควรเพราะ ไม่ใช่ช่าง แต่ก็ทำให้ใช้งานมาได้แล้ว
เข้าเรื่องกันเลย
เริ่มต้นจากในห่อที่ซื้อมามีอุปกรณ์ประมาณนี่
ราคาชุดละประมาณ 150 บาทครับ

และผมก็เอาซี่ลวดของจักรยานที่ซื้อมาเก็บไว้นานแล้วและก็ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรมาทำให้เกิดประโยชน์ซะหน่อยดัดให้ได้ประมาณนี้ครับ(รูปด้านล่างนี้)
 
หล้งจากดัดซี่ลวดจักรยานได้ก็นำมาลองประกอบดูและกะคราวๆก่อนเพราะยังไงต้องปรับตำแหน่งกันอีกทีครับ ต่อจากนั้นก็นำตัวปีนลองใส่เข้าไปใสฝากระโปรงครับ เข้ายากหน่อยกว่าจะหาตำแหน่งการบิดไปบิดมาได้ก็น่าจะได้ตามรูปด้านล้างนะครับ
พอใส่ได้ก็เอาเหล็กที่ทำเข้าเข้าไปต่อกัน และลองนำห่วงที่ทำไว้คล้องกับกลอนฝากระโปรงดูว่าได้เปล่าถ้าไม่ได้ก็ปรับให้ได้ตำแหน่งที่ดีที่สุด  และหาจุดยึดกับตัวโครงรถ ซึ่งเดิมในภาพด้านลางจะเป็นประมาณที่เห็ฯใช้แค่เหล็กรูที่ให้มายึดแต่มันใช้ไม่ได้เพราะเหล็กมันนิ่มไป เลยใช้เหล็กรู แทน









วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ถอดคอมแอร์B11 เป็นชิ้นๆ

จากที่ได้พูดคุยกับคุณ Bok... ๆ ได้ส่งรูปให้ผมทางFBและบอกเป็นลำดับมาว่าคอมแอร์ถอดอย่างไร ซึ่งถือว่าละเอียดมาก ผมขออนุญาติช่วยกระจายความรู้ที่มีอยู่ให้สู่ทุกคนที่เข้ามาอ่านในที่นี้และหรือ นำไปเผยแพร่ต่อก็ยินดีครับ เพื่อคนใช้B11 และผู้ที่ต้องการข้อมูลทางด้านนี้

และนี้เป็นชิ้นส่วนต่างๆ ตามภาพดังนี้
 เริ่มต้นดังนี้ครับ
ถอดน๊อตตัวเล็กทางซ้ายมือออกเกียวปรกติ

อีกด้านของชุดครัชเมื่อกี้
แล้วถอดโอเมก้าริงตัวกลางออก

 จะเจอชุดนี้ใช้ตัวดูด (อุปกรณ์ถอดเฟืองของช่างมีสามขา มีน๊อตตรงกลาง ดึงตัวทางขวามือออกมาตรง ๆ เป็นระบบฟิตติ้งธรรมดา จะเห็นตัวทางซ้าย ใช้ไขควงแฉกถอดเกลี่ยวสามตัวเล็กด้านล่าง ตัวแม่เหล็กทางซ้ายมือก็จะถอดออกมาง่าย ๆ
 อีกด้านของชุดเมื่อกี้
 จะพบกับตัวปิดหัวคอมเพรสเซอร์แบบในภาพข้างบน มีเกลียวยาว 6 ตัว ถอดออกให้หมด

น๊อตยาว 6 ตัวนี้เลยครับ
ถอดออกแล้วเอาครอบฝาสูบออกจะเห็นฝาสูบเป็นที่อยู่ของวาวล์ 2 ชุด ด้านใน 1 และด้านนอก 1

ไม่มีตัวดูดก็ค่อย ๆ เคาะด้วยฆ้อนถอดได้เช่นกันแต่นานหน่อยครับ พวกนี้ใช้แค่บล๊อกเท่านั้น
ตัวข้างบนเป็นครอบฝาสูบด้านหน้า จะเห็นรูตรงกลางเป็นแกนเพลาคอมเพรสเซอร์
 ชุดปลอกสูบ จะมีสองชุด ด้านหัวและท้าย
 จะเห็นโอริงตัวใหญ่ โอริงแบบนี้มี 1 ตัว อีกหนึ่งตัวเป็นโอริงรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม สองตัวนี้แหละครับ ที่ช่างเค้าจะเปลี่ยนเวลาบิวคอเพรสเซอร์ อีกอย่างก็คือซีลเพลากลางของแกนคอมเพรสเซอร์ และชุดแมกเนติคครัชใหม่ เท่านี้จริง ๆ ครับ จะเห็นว่าไม่น่าซื้อใช้ เราบิวของเราเองได้ครับ ถ้าชิ้นส่วนไม่แตกหัก เดียวจะมีให้ดูตอนท้ายครับว่าตัวนี้บิวไม่ได้เพราะวาวล์และลูกสูบกับเสื้อ สูบหมดสภาพครับ
ครอบฝาสูบด้านหลังคอมเพรสเซอร์ จะเห็นเซอร์วิสวาวล์สองชุด D ท่อด้านอัด S ท่อด้านดูด

 ฝาสูบตัวหน้าและตัวหลังตามลำดับ ตัวด้านหน้าจะมีรูสำหรับเพลาคอมเพรสเซอร์
 ชุดท่อน้ำยาเข้าและออกจากคอมเพรสเซอร์ มีโอริงสองตัวขนาดไม่เท่ากัน สองอันนี้ต้องเปลี่ยนด้วย
 ข้างบนเป็นซีลเพลากลางตัวนี้ต้องเปลี่ยนแน่ ๆ กันรั่วที่แกนเพลา ราคาก่อนนี้ชุดละร้อยกว่าบาท ตอนนี้ไม่ทราบ

 ชุดฝาสูบ เป็นที่อยู่ของวาวล์ มีทั้งวาวล์ด้านในและวาวล์ด้านนอก จะเป็นลักษณะคล้าย ๆ กัน มีสองชุดด้านหน้าและหลัง
 ตัวนี้จะอยู่ตรงกลางระหว่างลูกสูบด้านหน้าและลูกสูบด้านหลัง ข้างในเป็นที่อยู่ของชุดสวอชเพลท
 
 ชุดสวอชเพลท เป็นแกนเพลาคอมเพรสเซอร์ จะเห็นลูกสูบเพียงชุดเดียวจากสามชุดประกบอยู่ โดยมีลูกปืนสองชุดหัวท้ายเหมือนกัน ตามตัวอย่างอยู่ทางซ้ายมือ
 ชุดลูกสูบอีกสองที่เหลือ จะมีบูชลูกปืนและลูกปืนกลมสูบละสองชุด ลูกสูบที่เห็นทำงานทั้งสองหัว ทั้งดูดและอัดในขณะเดียวกัน ตรงกลางที่เห็นเ้ว้าอยู่คือที่อยู่ของสวอชเพลทดูตามภาพก่อนหน้านี้ครับ


 ลูกปืนกับบูชลูกปืนและที่อยู่ของเค้าในสวอชเพลท

ชุดสวอชเพลทและลูกปืนทั้งข้างหน้าและข้า
และข้างหลัง
 นี่คือหัวลูกสูป 1 ใน 3 ลูก สูบนี้วาวล์แตกตกลงไปในลูกสูบ ทำให้มีเสียงโลหะกระทบกันดังชัดเจน
 ปรกติควรเรียบและไม่มีรอย อันนี้มีรอยบ้าง แต่ยังเรียบพอประมาณ
 อันนี้เป็นลูกสูบที่มีรอยถูกเป็นแนวตรงดูด้านขวาตรงกลาง จะเห็ฯเป็นแนวตรงซึ่งไม่ควรจะมี
 อันนี้เป็นฝาสูบข้างหนึ่ง ด้านในหรือด้านนอกจำไม่ได้ วาวล์หักทำให้กระแทกกับชิ้นส่วนอื่น ทำให้เป็นรอยชัดเจน อันนี้เป็นเหล็กนะครับ ยังเป็นรอยได้ขนาดนี้ ลูกสูบเป็นแค่อลูมิเนียม เป็นรอยง่ายกว่านี้เยอะครับ
 อันนี้เป็นแผ่นวาวล์ที่แตกหายไปเลย ชิ้นส่วนถูกบดขยี้อยู่ในลูกสูบเป็นชิ้น ๆ ฉนั้นคอมเพรสเซอร์ลูกนี้ไม่สามารถบิวได้อีกเพราะส่วนประกอบหลัก ๆ เสียหาย หาอะไหล่ไม่ได้คับ วาวล์ในภาพไม่มีขาย ทำได้แค่ถอดของอันนั้นมาใส่อันนี้ตามสภาพ
 วาวล์ตัวนี้ยังไม่ขาดออกแต่ร้าวอย่างเห็นได้ชัด แค่นี้ก็ทำงานไม่ปรกติแล้ว แรงอัดและดูดหายแน่นอน
 จะเห็นรอยที่วาวล์ถูกทำให้เสียหายชัดเจน
 มีรอยร้าวที่วาวล์อันนี้ ด้านบน สังเกตุที่อยู่ของระบบท่อ มันจะเป็นรอยอยู่แบบที่เห็น เพราะฉะนั้นการประกอบกลับไม่ยากอย่างที่คิดครับ ลูกสูบหน้าหลังแค่คล้ายกันฝาสูบแค่คล้ายกัน ครอบฝาสูบไม่เหมือนกันเลย แค่สังเกตุและจดจำ คุณเรทำได้แน่นอน



 สังเกตุดูนะครับ มีร่องรอยของการอยู่อาศัยของวาวล์ ประกอบง่ายมาก ด้านนี้่จะเห็นวาวล์อีก 1 ชุด มันอยู่ใต้แผ่นเหล็กรูปร่างยาว ๆ ที่ฝาสูบด้วย ตัวนี้ต้องเช็คให้ดีว่าไม่แตกหักเสียหาย แต่โดยปรกติ ตัวนี้เสียหายยากกว่าวาวล์ตัวซ้ายมือครับ ทางด้านขวามือเป็นแค่ปะเก็นเหล็กเวลาประกอบกันรั่วระหว่างสูบเท่านั้นเอง ต้องใส่กลับเหมือนเดิม แต่ง่ายเพราะมีร่องรอยการสิงสถิตอยู่บนฝาสูบครับ


 อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของแม๊กเนติดครัช ที่ผมทำรุนแรงให้เห็นเพื่อให้คุณเรระวังเวลาใช้ตัวดูดถอดออกนะครับ ทำให้ร่องสายพานผิดรูป ลำบากต้องทำให้เหมือนเดิมถ้าไม่ระมัดระวังตอนถอดทีแรก

จบ ที่เหลือก็ประกอบกลับโดยทำย้อนกลับ ตบท้ายภาพรวมอีกครั้ง