วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2558

น้ำยาหม้อน้ำ สำคัญจริงหรือไม่ ไม่ต้องใส่ได้เปล่า?????

ณ 581203
ผมอ่านๆ และอ่านๆๆๆๆๆ จากการหาข้อมูล ก่อนหน้าที่นี้ทำให้เข้าใจว่า ใช้แค่น้ำเปล่าก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาหล่อเย็นผสมหรอก ให้ดีใช้แค่น้ำกลั่น เพราะไม่ต้องการให้เป็นตะกอน ตะกัง หินปูน เกาะหรือไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ร่วมทั้งหม้อน้ำเท่านั้น แต่ ณ วันนี่ผมไม่มีความคิดแบบนั้นแล้ว เนื่องจากมีข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้คิดและวิเคราะห์จากข้อมูลที่ได้เพิ่มเติมมานั้น ส่งผลให้หักล้างความคิดเดิมไปเลย
เพราะอะไรหรือครับ ก็เพราะว่าถ้าเราใช้น้ำเปล่า หรือน้ำกลั่นก็ตามมันเพิ่มจุดเดือนได้จากการมีการควบควมแรงดันเท่านั้น ส่วนเรื่องอื่นๆ ไม่สามารถช่วยปกป้องชิ้นส่วนต่างๆ ได้เลย
แต่หากเราใส่น้ำยาหล่อเย็นที่มีคุณภาพ ก็จะช่วยปกป้องชิ้นส่วนต่างได้ ยกตัวอย่างดังนี้

  1. การหล่อลื่นปั้มน้ำ
  2. การลดการกัดกร่อนอลูมิเนียม เช่นคอไอดีซึ่งจะมีน้ำไปหล่อเลี้ยงครับ เสื้อสูบ ร่วมทั้งหม้อน้ำในจุดที่เชื่อมด้วยตะกั่วตามตะเข็บซึ่งมักจะรั่ว
  3. เพิ่มจุดเดือนของน้ำ และการเพิ่มจุดเดือนของน้ำเพื่อมิให้น้ำในหม้อน้ำขยายตัวและไหลของไปยังหม้อพักจนล้น หรือไม่ก็ทำ
ซึ่งที่ได้เปลี่ยนถ่ายน้ำในหม้อน้ำ ใช้น้ำถึง4ลิตรเลย


ก๊อปมา จากที่ http://community.headlightmag.com/index.php?topic=23117.0
Coolant มีประโยน์มากกว่าที่คิดนะครับ  น้ำเปล่าระบายความร้อนที่สุด แต่ในเงื่อนไขถ้าคุณสมบัติทางกายภาพของมันยังไม่เปลี่ยนเท่านั้นนะครับ

ข้อคัดลอกที่มาจาก http://www.ducaticlubthailand.com

1. ความร้อนที่เกิดขึ้นในเครื่องยนต์มีผลดีและผลเสียต่อเครื่องยนต์อย่างไร
เป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่าในระบบการทำงานของเครื่องยนต์จะมีความร้อนเกิดขึ้นสูงมาก ซึ่ง 1/3 ของความร้อนนั้นจะถูกใช้ในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ และอีก 1/3 จะถูกใช้ไปในระบบการระบายไอเสีย ส่วนที่เหลืออีก 1/3 ส่วนนั้นจะยังคงอยู่ในระบบ โดยสะสมอยู่ในตัวเครื่องยนต์นั้น ซึ่งความร้อนที่สะสมนี้เองจะทำให้เกิดการสึกกร่อนของเครื่องยนต์จนในบางครั้งอาจทำให้โลหะที่ใช้ทำเครื่องยนต์นั้นเกิดการหลอมตัว ซึ่งจะทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้


2.วิธีแก้ปัญหาความร้อนในเครื่องยนต์
เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว จึงจำเป็นต้องมีสารที่ทำหน้าที่ระบายความร้อนนี้ออกจากระบบเครื่องยนต์ ซึ่งปัจจุบันสารที่ทำหน้าที่ดังกล่าวจะสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ น้ำ และ Coolant


3. ทำไมถึงต้องเติม “Coolant”
จากที่กล่าวข้างต้นแล้วว่า น้ำและ Coolant สามารถทำหน้าที่ช่วยระบายความร้อนในระบบเครื่องยนต์ได้ดังคำอธิบายจากกลไกของการระบายความร้อนดังต่อไปนี้

เมื่อใช้น้ำเป็นตัวระบายความร้อน จะเกิดเป็นฟองอากาศขนาดใหญ่เกาะที่บริเวณผิวของโลหะซึ่งภายใต้ฟองอากาศขนาดใหญ่นั้นจะมีพื้นที่สัมผัสในการระบายอากาศน้อยและมีอากาศอยู่เป็นจำนวนมาก โดยธรรมชาติอากาศจะมีความสามารถในการถ่ายเทความร้อนต่ำกว่าของเหลว ทำให้มีความร้อนสะสมบริเวณนั้นมากซึ่งจะก่อให้เกิดการสึกกร่อนเสียหายแก่ผิวสัมผัสนั้น โดยเฉพาะหากบริเวณนั้นเป็น Hot Spot จะทำให้ การสึกกร่อนรุนแรง

เมื่อมาพิจารณาในส่วนของ Coolant เมื่อได้รับความร้อน Coolant จะเกิดเป็นฟองอากาศขนาดเล็ก (nucleale bubble) จำนวนมาก ซึ่งทำให้มีผิวสัมผัสมาก ขณะเดียวกันก็จะมีอากาศภายในฟองอากาศน้อยลง ซึ่งส่งผลให้การระบายความร้อนมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณ Hot Spot ซึ่ง Coolant จะช่วยลดความเสียหายของเครื่องยนต์นั่นเอง





4. “Coolant” ทำหน้าที่อะไรบ้าง
นอกเหนือจากประสิทธิภาพของการระบายความร้อนแล้ว Coolant ยังประกอบด้วยสารเติมแต่งหลายชนิด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ Coolant เช่น สารป้องกันการเกิดสนิม, สารป้องกันการเกิดตะกอนเป็นต้น



5. “Coolant” มีสารปรุงแต่งอะไรบ้าง
Advantage ของ Coolant

เพิ่มประสิทธิภาพของการระบายความร้อนจาก Hot Surface / Hot Spot ไปสู่ระบบหม้อน้ำ
ช่วยปกป้องระบบหล่อเย็นจากการกัดกร่อนต่าง ๆ
ป้องกันการสึกกร่อนของใบพัดในระบบ Water pump อันเกิดจากการเกิดฟองของน้ำ
ช่วยเพิ่มการหล่อลื่นใน Water Pump Seal
สามารถใช้ได้กับส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องยนต์, ระบบยาง, ระบบ Seal ต่างๆ
มีจุดเดือดสูงกว่าน้ำ
มีจุด Freezing Point ต่ำ
สามารถให้เป็น Antifreeze สำหรับการใช้งานในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็นจัด



6. สาระน่ารู้ของผู้ใช้รถ
เครื่องยนต์ที่ทำจาก Alloy จะมีแนวโน้มของการสึกกร่อนสูงกว่า เครื่องยนต์ที่ทำจากโลหะประเภทชิ้น
เครื่องยนต์ที่มีความจุดต่ำและมีการใช้พลังงานมากจะทำให้เกิดความร้อนสะสมสูงมาก
การใช้เครื่องปรับอากาศ หรืออุปกรณ์เสริมอื่น จะทำให้เกิดความร้อนในระบบมากขึ้น
ควรเลือกวัสดุที่ใช้ในระบบ Cooling Circuit ให้เหมาะสม
Thermostate จะทำงานเมื่ออุณหภูมิของระบบสูงขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องยนต์
เมื่อ Water pump ทำงานเร็วขึ้นจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเคลื่อนที่ของของเหลว (Hydrodynamic Performance) ซึ่งจะก่อให้เกิดการปกป้องเครื่องยนต์อย่างเหมาะสม



7. สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับการใช้ Coolant
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิธีการกำจัดหลังเลิกใช้งาน
สภาพภูมิอากาศ
การรับประกันอายุการใช้งาน
ราคาและความสะดวกในการซื้อหา



8. ข้อแนะนำการใช้ Coolant
จากการศึกษา ความสัมพันธ์ของ จุดเดือดของ Coolant กับความดันที่เกิดขึ้นภายในระบบหม้อน้ำ อัตราการระบายความร้อนต่ออุณหภูมิจะพบว่า อัตราส่วนการใช้งาน Coolant ที่เหมาะสมที่สุดทั้งในด้านประสิทธิภาพการใช้งานและค่าใช้จ่าย คือ ที่ความเข้มข้นประมาณ 30% w/w น้ำคือ การผสม Coolant 1 ส่วนต่อน้ำบริสุทธิ์ 2 ส่วนดังรูป





9. ประโยชน์จากการใช้ Coolant
เพื่อการปกป้องที่ดีเยี่ยมของระบบเครื่องยนต์ที่ทำจากทองแดง / ทองเหลือง / อลูมิเนียม หรือส่วนผสมของทองแดง / ทองเหลือง / อลูมิเนียม โดยเลือกจาก Coolant ที่มีสารเติมแต่งที่เพิ่มประสิทธิภาพที่เหมาะสม
เพื่อการระบายความร้อนที่ดีเยี่ยมรวมทั้ง การปกป้องเครื่องยนต์จากการเดือด จากความร้อนสูงโดยเฉพาะบริเวณ Hot Spot
ปกป้องการเกิด film ขณะเดือด รวมทั้งช่วยทำให้เกิดการ nucleale boiling สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนสูงขึ้น ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ลดการเดือดที่รุนแรง (Overheat) เมื่อใช้งานในภาวะที่มีอากาศร้อนจัดรวมทั้งความร้อนจากการใช้เครื่องปรับอากาศด้วย
เพื่อเพิ่มอายุการใช้งานของระบบน้ำหล่อเย็น โดยลดการสึกกร่อนของใบพัด (pump vane)
ช่วยลดการสึกหรอของเครื่องยนต์ขณะ Start up ซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนเพิ่มมาถึงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการทำงานของเครื่องยนต์ต่อไป
ช่วยปกป้องเครื่องยนต์จากการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำมาก ๆ



10. ข้อควรทราบในการใช้ Coolant
สีของ Coolantไม่ใช่ตัวกำหนดคุณภาพ หรือประสิทธิภาพของ Coolant แต่อย่างใด
อัตราการใช้ที่เหมาะสม คือ การนำไปผสมกับน้ำกลั่นบริสุทธิ์ในอัตราส่วน Coolant ต่อน้ำ 1:2 หรือ 1:3 ส่วนโดยปริมาตร
ค่าความเป็นกรด – ด่างตลอดการใช้งานควรอยู่ในช่วง 7.5 – 11
Coolant สามารถใช้ได้ทั้งรถยนต์รุ่นเก่าและรุ่นใหม่
เพื่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานสูงสุดควรผสม Coolant กับน้ำที่มีความบริสุทธิ์สูง เช่น น้ำกลั่น, ซึ่งสิ่งที่ควรพิจารณาที่สำคัญ คือ การใช้น้ำที่มีคุณภาพต่ำผสมกับ Coolant ที่มีคุณภาพสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการระบายความร้อนต่ำลงมาก



11. คุณสมบัติของ Coolant ที่ดี
มีส่วนประกอบของ Glycol 85 – 95%
มี Freezing point ต่ำ (ต่ำกว่า – 12 C) กรณีที่นำไปใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ
มีจุดเดือดสูง
ปกป้องเครื่องยนต์ที่ทำจาก Aluminium และ Cast Iron



12. คุณสมบัติของ Coolant
Coolant เป็นสารประกอบประเภท Glycol Ether ซึ่งมีคุณสมบัติเหมาะสมกับการระบายความร้อนในระบบหม้อน้ำ รวมทั้งระบบความร้อนต่าง ๆ คุณสมบัติหลักที่สำคัญของ Coolant คือ

จุดเดือด (สารเข้มข้น)   >   190°C
จุดเดือด (เมื่อผสมน้ำ 1:2)   >   108°C ---> ที่จุดใช้งานปกติของหม้อน้ำในรถยนต์
ค่าความเป็นกรด – ด่าง (เมื่อผสมน้ำ 1:1)   =   7.5 – 11
ค่าปริมาณความเป็นกรดสำรอง (Reserve Acidity)   =   8 – 14
ค่าปริมาณความเป็นด่างสำรอง (Reserve Alkalinity)   =   15 – 25, 25 – 32 for DG9
ค่าการแตกตัวของฟอง   <   5 วินาที





13. คำจำกัดความที่ควรทราบเกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Coolant
จุดเดือด คือ อุณหภูมิที่ Coolant ได้รับความร้อนจนกระทั่งเกิดการเดือด เช่น น้ำบริสุทธิ์มีจุดเดือด 100°C น้ำจะเดือดกลายเป็นไอ ส่วน Coolant มีจุดเดือดที่มากกว่า 108°C ในการใช้งานปกติ (ผสมน้ำ 1 : 2) และจะไม่ระเหยหายไปแต่อย่างใด ส่วนที่หายไปคือส่วนของน้ำ ดังนั้นเราสามารถเติมน้ำเพิ่มเมื่อพบว่าระดับน้ำในหม้อน้ำลดลง
ค่าความเดือดเป็นกรด – ด่าง คือ สภาพของ Coolant ที่เหมาะสมกับการใช้งานปกติ ซึ่งมีประสิทธิภาพของ Coolant ให้เหมาะสมกับการใช้งาน
ค่าปริมาณความเป็นด่างสำรอง คือ ความสามารถของ Coolant ที่จะรองรับปริมาณกรดที่อาจเพิ่มขึ้นได้ในระหว่างการใช้งาน ซึ่งปริมาณกรดดังกล่าวมักเกิดจากมลภาวะทางอากาศที่เกิดขึ้น รวมทั้งคุณภาพของน้ำที่ใช้ในระบบหม้อน้ำด้วย


เพราะฉนั้น  "น้ำยาหล่อเย็น"ทุกชนิด" ที่เติมเข้าไป มีประโยชน์แค่ป้องกันตะกรันแค่นั้นครับ" น่าจะเป็นการอธิบายที่คลาดเคลื่อนไปซักหน่อยนะครับ  

ไม่มีความคิดเห็น: